การเล่นของเด็กมีความสำคัญและอยู่คู่กับเด็กตลอดเวลา มีผู้ใหญ่อีกเป็นจำนวนมากไม่เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเล่น ฉะนั้นก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่อบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนถึงความสำคัญ ของการเล่น เพื่อผู้ใหญ่จะสนับสนุนส่งเสริมการเล่นในเด็กได้อย่างไร ถ้าผู้ใหญ่ของไทยเราเข้าใจแล้ว คงจะช่วยทำให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยมีคุณาภาพขึ้น ขณะนี้เรามักใช้
ประสบการณ์เดิมๆ ในการเลี้ยงดูเด็กของเราโดยไม่มีการปรับหรือเปลี่ยนแปลง สำหรับการเล่นใน
เด็กเล็ก มีการวิจัยสามารถอ้างอิงได้ว่า เวลาตื่นตัว คนเราจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายามง่วงเหงาหาวนอนหรือ
ตื่นเต้นเกินไป อธิบายได้ว่า การกระตุ้นเด็กมากหรือน้อยเกินไป ไม่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว
การเล่นสนุกและหัวเราะจะทำให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน พร้อมที่จะรับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ สิ่งใดก็ตามหากเข้ามาตอนที่เด็กมีความเพลิดเพลิน สิ่งนั้นเด็กจะรับได้ นับว่าเป็นจังหวะให้เด็กได้รู้จักและรับเรื่องราวใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเกมต่างๆ การเล่นชนิดต่างๆทั้งที่เคยเล่นมาแล้ว หรือการเล่นแปลกใหม่เด็กจะได้เรียนรู้เพื่อการพัฒนาการให้เขาได้โตเป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ดังนั้นปล่อย
ให้เด็กเขาได้เล่นตามวัยและตามโอกาสที่เหมาะสม ถ้าเขาโตพ้นวัยไปแล้วจะไม่มีโอกาสได้เล่น
แล้วจะมีการพัฒนาได้อย่างไร
วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554
เด็กเล็กกับการจัดประสบการณ์ทดลอง
การจัดประสบการณ์ทดลองจะดำเนินการในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมวงกลม
เน้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกระบวนการ มากกว่าที่จะให้เด็กได้จำเนื้อหา เน้นการฝึกทักษะกระบวนการทำให้เด็กได้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาที่ผู้ใหญ่ต้องการที่จะให้เกิดขึ้นเองในตัวเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ จากประสบการณ์ตรง ค้นคว้าหาวิธีด้วยตนเอง จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทำให้เด็กได้พัฒนากระบวนการคิด โดยเฉพาะการคิดหาเหตุผล ทักษะการคิดแก้ปัญหา นอกจากนั้นทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กเป็นคน
ละเอียด รอบคอบ มานะอดทน มีระบบของการทำงานที่มีระเบียบวินัย และช่วยการสร้างเจตคติ
ที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ส่วนทางด้านสังคมทำให้เด็กได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
และปลูกฝังการเรียนรู้ในระบอบประชาธิปไตยเมือโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
เน้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกระบวนการ มากกว่าที่จะให้เด็กได้จำเนื้อหา เน้นการฝึกทักษะกระบวนการทำให้เด็กได้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในเนื้อหาที่ผู้ใหญ่ต้องการที่จะให้เกิดขึ้นเองในตัวเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ จากประสบการณ์ตรง ค้นคว้าหาวิธีด้วยตนเอง จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทำให้เด็กได้พัฒนากระบวนการคิด โดยเฉพาะการคิดหาเหตุผล ทักษะการคิดแก้ปัญหา นอกจากนั้นทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กเป็นคน
ละเอียด รอบคอบ มานะอดทน มีระบบของการทำงานที่มีระเบียบวินัย และช่วยการสร้างเจตคติ
ที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ส่วนทางด้านสังคมทำให้เด็กได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
และปลูกฝังการเรียนรู้ในระบอบประชาธิปไตยเมือโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป
การฝึกทักษะการสังเกตให้กับเด็ก
การที่จะให้เด็กมีทักษะการสังเกตเมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เด็กจะต้องได้รับการฝึก
ตั้งแต่ยังเล็กอยู่ ดังนั้นครู พ่อแม่ ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องจัดประสบ
การณ์ให้เด็กมีทักษะการสังเกต ทักษะการสังเกตที่จะต้องฝึกให้กับเด็กมีดังนี้
1 เด็กจะต้องได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง ในการสังเกตสิ่งของบางอย่างเพราะจะได้เห็น
ถึงความแตกต่าง
2 ครูหรือผู้ใหญ่จะต้องเตรียมสื่อ อุปกรณ์ในการฝึกให้พร้อม มีการออกแบบกิจกรรม
ล่วงหน้า
3 การฝึกจะต้องฝึกให้เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก
ลิ้น และกาย
4 การฝึกทักษะการสังเกตครั้งแรก ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดความสนใจ และความ
ตระหนักในสิ่งที่จะสังเกต ดังนั้นกิจกรรมหรือสิ่งที่ให้สังเกตต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน แล้วจึง
เป็นสิ่งที่ยากขึ้น
5 การสังเกตในแต่ละครั้ง ข้อมูลของการสังเกตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ครูจะต้องส่งเสริมให้เด็กนำมาช่วยในการตัดสินใจเมื่อเด็กจะต้องการแก้ปัญหา
การฝึกทักษะให้เด็กได้มีความสามารถในการสังเกตดังตัวอย่างข้างต้นแล้วในชีวิต
ประจำวันของเด็กจะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
ตั้งแต่ยังเล็กอยู่ ดังนั้นครู พ่อแม่ ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจะต้องจัดประสบ
การณ์ให้เด็กมีทักษะการสังเกต ทักษะการสังเกตที่จะต้องฝึกให้กับเด็กมีดังนี้
1 เด็กจะต้องได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง ในการสังเกตสิ่งของบางอย่างเพราะจะได้เห็น
ถึงความแตกต่าง
2 ครูหรือผู้ใหญ่จะต้องเตรียมสื่อ อุปกรณ์ในการฝึกให้พร้อม มีการออกแบบกิจกรรม
ล่วงหน้า
3 การฝึกจะต้องฝึกให้เด็กมีทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก
ลิ้น และกาย
4 การฝึกทักษะการสังเกตครั้งแรก ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดความสนใจ และความ
ตระหนักในสิ่งที่จะสังเกต ดังนั้นกิจกรรมหรือสิ่งที่ให้สังเกตต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน แล้วจึง
เป็นสิ่งที่ยากขึ้น
5 การสังเกตในแต่ละครั้ง ข้อมูลของการสังเกตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ครูจะต้องส่งเสริมให้เด็กนำมาช่วยในการตัดสินใจเมื่อเด็กจะต้องการแก้ปัญหา
การฝึกทักษะให้เด็กได้มีความสามารถในการสังเกตดังตัวอย่างข้างต้นแล้วในชีวิต
ประจำวันของเด็กจะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
คุณค่าของกิจกรรมเสรี/ การเล่นตามมุม
การที่เด็กปฐมวัยมีกิจกรรมการเล่นเสรี หรือให้เด็กเล่นตามมุมนั้น มีประโยชน์และมี
คุณค่าสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก สำหรับบางคนที่ไม่เข้าใจถือว่าเป็นการเสียเวลาและไม่เป็นประโยชน์
แก่เด็ก จึงให้เด็กนั่งเรียนเขียนอ่านเหมือนเด็กโต คิดว่ายิ่งเรียนมากๆ จะทำให้เด็กเก่งและเป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนเก่งเมื่อโตขึ้น ความคิดและความเข้าใจดังกล่าวเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ในวัยนี้ เด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่น กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำนั้นเด็กต้องได้ทำสิ่งที่สนุกเพลิดเพลินไปพร้อมกัน เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมเล่นตามมุมหรือกิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่นหรือ มุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก มุมหมอ เป็นต้น การให้เด็กได้เข้าเล่นในมุมดังกล่าว ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นตามความต้องการและความสนใจ กิจกรรมเสรีนอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว อาจให้เด็กเลือกทำกิจกรรมที่ผู้สอนจัดขึ้น อาจเป็นเครื่องเล่นสัมผัส หรือเกมการศึกษาก็ได้ การให้เด็กได้ทำกิจกรรมเสรี การเล่นตามมุมจึงมีคุณค่าสำหรับเด็ก ดังนั้นครูมีความ
จำเป็นที่ต้องจัดสภาพแวดล้อม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมและเหมาะสม และเข้าใจถึงพัฒนาการ
ของเด็กเป็นสำคัญ
คุณค่าสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก สำหรับบางคนที่ไม่เข้าใจถือว่าเป็นการเสียเวลาและไม่เป็นประโยชน์
แก่เด็ก จึงให้เด็กนั่งเรียนเขียนอ่านเหมือนเด็กโต คิดว่ายิ่งเรียนมากๆ จะทำให้เด็กเก่งและเป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนเก่งเมื่อโตขึ้น ความคิดและความเข้าใจดังกล่าวเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ในวัยนี้ เด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่น กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำนั้นเด็กต้องได้ทำสิ่งที่สนุกเพลิดเพลินไปพร้อมกัน เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมเล่นตามมุมหรือกิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่นหรือ มุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก มุมหมอ เป็นต้น การให้เด็กได้เข้าเล่นในมุมดังกล่าว ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นตามความต้องการและความสนใจ กิจกรรมเสรีนอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว อาจให้เด็กเลือกทำกิจกรรมที่ผู้สอนจัดขึ้น อาจเป็นเครื่องเล่นสัมผัส หรือเกมการศึกษาก็ได้ การให้เด็กได้ทำกิจกรรมเสรี การเล่นตามมุมจึงมีคุณค่าสำหรับเด็ก ดังนั้นครูมีความ
จำเป็นที่ต้องจัดสภาพแวดล้อม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมและเหมาะสม และเข้าใจถึงพัฒนาการ
ของเด็กเป็นสำคัญ
สื่อ วัสดุ ของเล่นจากธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับเด็กปฐมวัยสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างมาก ในสภาพของสังคมไทย เราสามารถหาสิ่งดังกล่าวได้จากธรรมชาติ และจากสภาพแวดล้อมรอบตัวซึ่งให้คุณค่ามากสำหรับเด็ก สิ่ง
ดังกล่าวที่เป็นวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ลูกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกหอย ก้อนหิน ก้อนกรวด หรือไม่ก็เป็นของเล่นที่รุ่น
ปู่ย่าตายายทำให้กับลูกหลานเล่น ส่วนใหญ่จะเป็นของที่ทำจากวัสดุพื้นบ้าน ตุ๊กตาทำจากเศษผ้า ผ้าฝ้ายบางๆที่นำมา
ย้อมสีต่างๆ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ จากธรรมชาตินี้หาได้อย่างง่ายดายในสังคมเมืองไทย เพราะมีอยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะ
ในท้องถิ่นตามภูมิภาคของไทยเรา นอกจากมีผลดีเป็นอย่างมากในด้านการประหยัดแล้ว ยังทำให้เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของไทย และที่สำคัญคือการส่งเสริมการนำสิ่งดังกล่าวมา
เล่นอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย
ที่มา : http://dararat97.blogspot.com/2010/12/blog-post_27.html
ดังกล่าวที่เป็นวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ลูกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกหอย ก้อนหิน ก้อนกรวด หรือไม่ก็เป็นของเล่นที่รุ่น
ปู่ย่าตายายทำให้กับลูกหลานเล่น ส่วนใหญ่จะเป็นของที่ทำจากวัสดุพื้นบ้าน ตุ๊กตาทำจากเศษผ้า ผ้าฝ้ายบางๆที่นำมา
ย้อมสีต่างๆ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ จากธรรมชาตินี้หาได้อย่างง่ายดายในสังคมเมืองไทย เพราะมีอยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะ
ในท้องถิ่นตามภูมิภาคของไทยเรา นอกจากมีผลดีเป็นอย่างมากในด้านการประหยัดแล้ว ยังทำให้เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของไทย และที่สำคัญคือการส่งเสริมการนำสิ่งดังกล่าวมา
เล่นอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย
ที่มา : http://dararat97.blogspot.com/2010/12/blog-post_27.html
พัฒนาการการแสดงออกของเด็กวัย 3-6 ปี
เด็กวัยอายุ 3-6 ปี มีช่วงความสนใจประมาณ 15 -20 นาที ซึ่งเป็นช่วงที่น้อยมาก
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกไม่ควรให้นานเกิน 20 นาที อย่างเช่นการให้เด็กแสดงละคร การ
แสดงละครเป็นการแสดงออกของเด็กซึ่งเด็กในวัยนี้ชอบแสดงจากนิทาน จินตนาการ เพลง บทกลอน
และประสบการณ์ เด็กยังไม่ความสามารถในด้านการหาเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นตัวละครต่างๆ ที่มี
บทบาทต้องให้ชัดเจน การแสดงออกในวัยนี้จะเป็นการแสดงออกโดยการให้เด็กได้เคลื่อนไหวทาง
ร่างกาย และเด็กสามารถจับจังหวะดนตรีง่ายๆ และแสดงออกตามจังหวะได้ การทำให้เด็กได้แสดง
ออกในลักษณะของรูปแบบหรือท่าทางตามตัวอย่างเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ยาก ดังนั้นการให้เด็กได้แสดง
ออกจึงควรปล่อยให้เด็กมีอิสระที่จะทำท่าใดก็ได้ตามจินตนาการของเด็กเอง สิ่งที่เด็กทำได้จะเป็น
ประสบการณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก อย่างเช่นความสามารถในการทำท่าทางเลียนแบบท่าเดินของ
สัตว์ เสียงร้องของสัตว์ สิ่งที่สำคัญในเรื่องดังกล่าวอยู่ที่การเริ่มต้นสร้างความรู้สึกที่ดีแก่เด็ก และ
ความคิดที่เด็กได้คิดด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กต่อไป
ที่มา : http://dararat97.blogspot.com/2011/01/3-6.html
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกไม่ควรให้นานเกิน 20 นาที อย่างเช่นการให้เด็กแสดงละคร การ
แสดงละครเป็นการแสดงออกของเด็กซึ่งเด็กในวัยนี้ชอบแสดงจากนิทาน จินตนาการ เพลง บทกลอน
และประสบการณ์ เด็กยังไม่ความสามารถในด้านการหาเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นตัวละครต่างๆ ที่มี
บทบาทต้องให้ชัดเจน การแสดงออกในวัยนี้จะเป็นการแสดงออกโดยการให้เด็กได้เคลื่อนไหวทาง
ร่างกาย และเด็กสามารถจับจังหวะดนตรีง่ายๆ และแสดงออกตามจังหวะได้ การทำให้เด็กได้แสดง
ออกในลักษณะของรูปแบบหรือท่าทางตามตัวอย่างเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ยาก ดังนั้นการให้เด็กได้แสดง
ออกจึงควรปล่อยให้เด็กมีอิสระที่จะทำท่าใดก็ได้ตามจินตนาการของเด็กเอง สิ่งที่เด็กทำได้จะเป็น
ประสบการณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก อย่างเช่นความสามารถในการทำท่าทางเลียนแบบท่าเดินของ
สัตว์ เสียงร้องของสัตว์ สิ่งที่สำคัญในเรื่องดังกล่าวอยู่ที่การเริ่มต้นสร้างความรู้สึกที่ดีแก่เด็ก และ
ความคิดที่เด็กได้คิดด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กต่อไป
ที่มา : http://dararat97.blogspot.com/2011/01/3-6.html
การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการในระดับปฐมวัย
การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการในระดับปฐมวัย
แนวทางการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ กำหนดให้จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการเรียนรู้, 2546: 40) คำว่า "บูรณาการ" จึงเป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับครู แต่อาจเกิดความเข้าใจที่สับสนว่าการบูรณาการเป็นการนำองค์ความรู้ต่างๆ มากองรวมกัน โดยทึกทักเหมารวมเอาไว้ด้วยกันอย่างไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ และอ้างว่าให้เด็กทำกิจกรรม ทั้งๆ ที่ครูก็ไม่ชัดเจนว่าผสมผสานอะไรไว้ด้วยกัน การบูรณาการถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งของการสอน รวมทั้งเป็นปรัชญาในการสอนที่นำเนื้อหาความรู้จากหลายวิชามาสัมพันธ์ที่จุด เดียวกัน (Focus) หรือหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน (วลัย พานิช, 2546: 44) ทั้งนี้ วรนาท รักสกุลไทย (2548: [6-8]) ได้สรุปความหมายของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการไว้ว่าเป็นการจัดประสบการณ์ ที่นำความรู้ ความคิดรวบยอด ทักษะ และประสบการณ์สำคัญทั้งมวลที่ผู้เรียนจะได้รับในสาระการเรียนรู้ต่างๆ มาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งเป็นการขจัดความซ้ำซ้อน ความไม่สัมพันธ์ และความไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระดับปฐมวัยศึกษา ซึ่งเน้นการพัฒนาโดยองค์รวม เมื่อพิจารณาความหมายของการบูรณาการจะเห็นได้ว่าความรู้ ความคิด และประสบการณ์สำคัญต่างๆ นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน และหน่วยย่อยที่สัมพันธ์กันเหล่านี้เกิดการผสมผสานหลอมรวมจนเกิดเอกลักษณ์ ใหม่ที่มีความเป็นหนึ่งเดียว การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยยึดหลักการบูรณาการที่ว่า หนึ่งแนวคิดเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สำคัญ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2547: 6) การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้ หรือประสบการณ์สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป ผู้เขียนขอเสนอตัวอย่างหนึ่งของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการผ่านหัวเรื่อง "ปีเตอร์แพน" ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เด็กๆ ให้ความสนใจ ดังนี้ ที่ชั้น อนุบาล 2/1 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ เด็กๆ ต่างชื่นชอบที่จะฟังนิทานเรื่องปีเตอร์แพน และจะขอให้ครูอ่านนิทานเรื่องนี้ให้ฟังอย่างต่อเนื่อง ครูจึงนำเรื่อง "ปีเตอร์แพน" มาเป็นหัวเรื่องในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยยึดตามกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมบูรณาการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการจัดประสบการณ์ในระดับ ปฐมวัย ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา ดังตัวอย่างต่อไปนี้ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กๆ ได้ร้องเพลง คิดท่าประกอบเพลง ทำท่าประกอบเพลง ซึ่งเพลงที่นำมาใช้ประกอบ ด้วยเพลงเหาะไปบนฟ้า และเพลงปีเตอร์แพน ได้แปลงร่างเป็นตัวละครต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน และเคลื่อนไหวประกอบจังหวะตามลักษณะสำคัญของตัวละคร และได้ทำกิจกรรมตามผู้นำ (ผู้นำ ผู้ตาม) โดยดัดแปลงมาจากตอนที่ตัวละครในเรื่องออกไปตามพวกอินเดียนแดง ฯลฯ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กๆ ได้เล่นสมมติจากสถานการณ์ในเรื่อง เช่น ตอนทิงเกอร์เบลอิจฉาเวนดี้ เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการจัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม หรือตอนเวนดี้ไม่ยอมเป็นพวกโจรสลัด เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการปฏิเสธที่จะทำผิดตามที่ผู้อื่นสั่งให้ทำ ได้เล่นสมมติเป็นอินเดียนแดงทดลองทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสามัคคี นอกจากนี้ยังมีการเล่นละครสร้างสรรค์ 5 ฉากสำคัญ คือ เหาะไปบนฟ้า ตามผู้นำ ช่วยไทเกอร์ลิลลี่ ที่ซ่อนของปีเตอร์แพน และกลับบ้านกันโดยเด็กๆ จะต้องแบ่งหน้าที่กันทำ ด้นสดบทละคร และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ฯลฯ กิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมที่ให้เด็กเลือกทำเป็นรายบุคคล ได้แก่ พับหมวกปีเตอร์แพน ดัดลวดเพื่อทำปีกทิงเกอร์เบล วาดนางเงือก และตัดเพื่อนำไปไว้ที่ทะเลสาบนางเงือก พับจระเข้ตัวเล็ก ตัดรูปมือระบายสีเพื่อทำสายรุ้ง ตัดรูปดาวและปั๊มสีเพื่อทำดาวที่ลอนดอนยามค่ำคืน และทำสายคาดศีรษะของอินเดียนแดง ฯลฯ และได้ทำกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ ได้แก่ การสร้างเนเวอร์แลนด์ซึ่งต้องทำดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ เรือโจรสลัด หินรูปหัวกะโหลก จระเข้ตัวใหญ่ และการสร้างลอนดอนซึ่งต้องทำภาพเมืองลอนดอนและหอนาฬิกา ฯลฯ กิจกรรมเสรี เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องแสงและเงาผ่านการทำกิจกรรมวาดเงาของตัวละคร เรียนรู้ประโยชน์ของแสงจากการส่องไฟฉายหาตัวละครในกล่องปริศนา ได้เรียนรู้เรื่องเสียงผ่านการทำกลองของอินเดียนแดง ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารผ่านการทำแพนเค้กรูปหน้าตัวละคร ได้เรียนรู้ภาษาผ่านตัวอักษรล่องหนของอินเดียนแดง ฯลฯ โดยครูจัดกิจกรรมเหล่านี้ตามความคิดของเด็กไว้เป็นตัวเลือกหนึ่งในกิจกรรม เสรี กิจกรรมกลางแจ้ง เด็กๆ ได้เล่นเดินเป็นแถวตามจังหวะมาร์ช โดยร้องเพลงตามผู้นำไปในที่ต่างๆ ในโรงเรียน โดยเล่นสมมติเป็นพวกอินเดียนแดง เด็กๆ เล่นเครื่องเล่นสนามโดยสมมติว่าเครื่องเล่นแต่ละอย่างเป็นสถานที่ต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน ฯลฯ กิจกรรมเกมการศึกษา เด็กๆ ได้เล่นเกมจับคู่คำศัพท์ทั้งคำศัพท์เกี่ยวกับฉาก และตัวละคร ในหลายๆ ลักษณะ เช่น ทอยลูกเต๋าแล้วหาบัตรคำศัพท์ นำบัตรคำศัพท์ไปวางคู่กับสิ่งของจริงๆ ที่เด็กสร้างขึ้นในห้องเรียน รวมทั้งเกมอื่นๆ เช่น ลากเส้นหาทางออกให้ทิงเกอร์เบล ฯลฯ กิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นซึ่งให้เด็กได้ร้องและทำท่าทางประกอบเพลง เล่นสมมุติ เล่นละครสร้างสรรค์ สนทนาร่วมกัน ทดลอง สร้าง วาด พับ ทำศิลปะแบบร่วมมือ เล่นเกม หรือประกอบอาหาร ล้วนเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กกระตือรือร้นใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเกิดแรงจูงใจในการเรียน เด็กได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ครบทุกด้าน รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป เด็กมีส่วนร่วมในการกำหนดการเรียนรู้ของตนด้วยการเลือกทำกิจกรรมที่สอดคล้อง กับความสนใจ และความสามารถของตน ช่วยเกิดการพัฒนาแบบองค์รวม ทั้งสาระการเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์สำคัญ ช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการจำและการแก้ปัญหา และช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามครูควรตระหนักถึงหลักสำคัญของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ กล่าวคือความสอดคล้องเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสาระการเรียนรู้ และทักษะต่างๆ การที่เด็กได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลายช่วยให้เกิดการตกผลึกทาง ความคิด และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้ไม่ลบเลือนไปโดยง่าย การนำสาระการเรียนรู้และทักษะต่างๆ ที่ต้องการให้เด็กฝึกฝนมาเชื่อมโยงไว้ในการสอน การใช้แหล่งเรียนรู้รอบตัว สื่อมีความหลากหลายมีความเพียงพอกับความต้องการของเด็ก และการจัดกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับกลุ่มเด็กและ สภาพแวดล้อม โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด ที่มา : http://www.nareumon.com/index.php?option=com_content&task=view&id=3&Itemid=50 |
วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554
สอนลูกให้รู้จักแบ่งปัน
การหวงของเล่นนั้นเป็นพฤติกรรมปกติของเด็กวัยนี้ค่ะการแบ่งปันนั้นเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
นานหลายปีในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะพบว่าลูกหวงของหรือแย่งของเล่นกับเพื่อนและจะสังเกตได้ว่าเพื่อน
ของลูกที่อยู่ในวัยเดียวกันก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกัน
การสอนให้ลูกรู้จักแบ่งของเล่นกับเพื่อนนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างถูกวิธีนะคะ ของเล่นที่เป็นของลูกก็ต้องให้ลูก
รู้ว่าของเล่นชิ้นนั้นเป็นของเค้าและเค้ามีสิทธิ์ในของชิ้นนั้น ยกตัวอย่างสถานการณ์เช่น...
...ในขณะที่ลูกกำลังเล่นของเล่นชิ้นหนึ่งอยู่ ก็มีเพื่อนของลูกเข้ามาและอยากจะเล่นของเล่นชิ้นนั้นบ้าง....
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำก็คือสอนให้ลูกรู้ว่าของเล่นนั้นเป็นของลูกลูกอยากจะเล่นให้เสร็จก่อนแล้วค่อยแบ่งให้เพื่อน
เล่นก็ได้หรือว่าลูกอยากจะเล่นด้วยกันกับเพื่อนก็ได้และก็ควรบอกเพื่อนของลูกด้วยเหตุผลเดียวกันแต่สิ่งที่คุณพ่อ
คุณแม่ไม่ควรทำก็คือการบังคับให้ลูกเอาของชิ้นนั้นให้เพื่อนเล่นในทันทีเพราะจะทำให้ลูกรู้สึกสับสนในเรื่องความ
เป็นเจ้าของและมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในเรื่องการแบ่งปันรวมทั้งไม่ควรลงโทษลูกหากลูกไม่แบ่งของให้คนอื่นเพราะ
ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นๆและค่อยๆสอนลูกอย่างค่อยเป็นค่อยไปค่ะ
ในช่วงแรกๆลูกอาจแบ่งของเล่นให้เพื่อนเพราะได้รับคำชมจากคุณพ่อคุณแม่แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกน้อยจะเริ่มทำ
พฤติกรรมนี้ด้วยความเคยชินเค้าจะรู้สึกอยากแบ่งปันเพราะทำแล้วมีความรู้สึกที่ดีเกิดขึ้นรวมทั้งรู้สึกสนุกกับการมี
เพื่อนเล่นอีกด้วยค่ะ
เนื่องจากเด็กจะจดจำและเลียนแบบพฤติกรรมที่เค้าเห็นดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักการแบ่งปันทุกครั้ง
ที่มีโอกาสรวมทั้งควรสื่อสารกับลูกในขณะที่แสดงให้ลูกเห็นด้วยซึ่งมีวิธีง่ายๆดังนี้
• คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างให้ลูก เช่น ก่อนจะแบ่งขนมให้ลูกชิม ก็อาจพูดว่า “ขนมของคุณแม่อร่อยมากเลย
ลองชิมขนมของคุณแม่มั๊ยคะลูก คุณแม่แบ่งให้นะคะ”
• สอนให้ลูกรู้จักความเป็นเจ้าของ และเสนอการแบ่งปันในสถานการณ์ที่เป็นไปได้ เช่น “รถตักดินอันนี้ของ
น้องเอ น้องเอชวนน้องบีมาเล่นด้วยกันดีมั๊ยคะ”
• ชมลูกเมื่อลูกแบ่งของให้คนอื่น หรือชมเด็กคนอื่นให้ลูกเห็นเมื่อลูกได้รับการแบ่งปัน เช่น “น้องเอใจดีแบ่ง
ตุ๊กตาให้เพื่อนเล่นด้วย น้องเอน่ารักมากค่ะ” หรือ “ดูสิคะ พี่จอยแบ่งของเล่นให้ลูกด้วย พี่จอยใจดีจังเลย”
อย่างไรก็ตามการรู้จักแบ่งปันหรือการสอนให้ลูกเป็นคนไม่เห็นแก่ตัวนั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจะต้องแบ่งของทุกอย่าง
ให้คนอื่นทุกครั้งไปในบางครั้งหากเขาไม่อยากจะแบ่งปันอะไรให้ใครก็ไม่เป็นไรค่ะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้เช่น ถ้าเขา
มีของเล่นชิ้นหนึ่งที่ไม่ต้องการให้เพื่อนเล่นด้วยเขาก็สามารถเก็บเอาไว้เล่นคนเดียวได้ไม่ผิดอะไรโดยเขาอาจจะ
เก็บของเล่นชิ้นนั้นเอาไว้ก่อนเวลาที่มีเพื่อนมาเล่นด้วยไม่เอาออกมาเพื่อนเห็นอย่างนี้เป็นต้น
ที่มา : http://www.nestlebaby.com/th/parenting/family_life/how_can_i_teach_my_toddler_to_share/
พัฒนาการทางสังคมและการละเล่น
พัฒนาการทางสังคมและการละเล่น
การเล่นเกมและการเล่นที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน
ตามธรรมชาติเด็กๆจะเริ่มฝึกหัดพัฒนาการด้านนี้ตั้งแต่
อยู่ในขั้นทารก แต่อย่างไรก็ดีสำหรับเด็กอายุ 3-4 ขวบ
ผู้ปกครองต้องระมัดระวังและคอยดูแลไม่ให้เด็กทะเลาะกัน
ถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทรกกลาง
การแพ้ชนะ
ในสังคมทุกวันนี้ต่างมุ่งเน้นที่จะแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกัน
และความคิดที่จะเอาชนะกันได้แพร่ขยายเข้ามาในการละเล่นของเด็กด้วย
บางคนกล่าวว่า เราอยู่ในโลกของการแข่งขัน ในไม่ช้าเด็กก็จะคุ้นเคย
กับมันเอง ในวัยเด็กเล็กๆ เป็นการง่ายที่จะยอมรับความพ่ายแพ้
แต่สำหรับเด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป เป็นการยากที่จะยอมรับว่าตัวเองล้มเหลว
สำหรับเด็กแล้วเกมและการละเล่น เป็นการสอนให้เขาเข้าใจในโลกแห่งความเป็นจริง
แต่ในขณะเดียวกันถ้าเขาถูกเพื่อนๆล้อเลียนบ่อยๆ ก็จะทำให้สูญเสียความมั่นใจได้
ทางที่ดีที่สุดที่เราสามารถจะช่วยเขาได้คือจับตามองเวลาที่เขาเล่น
และย้ำกับเขาว่า ในการเล่นเกมต้องมีคนแพ้ คนชนะ ไม่มีใครจะชนะได้ตลอดเวลา
เราไม่ควรสอนให้เด็กเป็นคนอยากเอาชนะ แต่ควรสอนให้เขาอยู่
ในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีความสุขจะดีกว่า
ที่มา : http://kidsquare.com/content/content_detail.php?id=1429&catid=371
การเล่นเกมและการเล่นที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน
ตามธรรมชาติเด็กๆจะเริ่มฝึกหัดพัฒนาการด้านนี้ตั้งแต่
อยู่ในขั้นทารก แต่อย่างไรก็ดีสำหรับเด็กอายุ 3-4 ขวบ
ผู้ปกครองต้องระมัดระวังและคอยดูแลไม่ให้เด็กทะเลาะกัน
ถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทรกกลาง
การแพ้ชนะ
ในสังคมทุกวันนี้ต่างมุ่งเน้นที่จะแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกัน
และความคิดที่จะเอาชนะกันได้แพร่ขยายเข้ามาในการละเล่นของเด็กด้วย
บางคนกล่าวว่า เราอยู่ในโลกของการแข่งขัน ในไม่ช้าเด็กก็จะคุ้นเคย
กับมันเอง ในวัยเด็กเล็กๆ เป็นการง่ายที่จะยอมรับความพ่ายแพ้
แต่สำหรับเด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป เป็นการยากที่จะยอมรับว่าตัวเองล้มเหลว
สำหรับเด็กแล้วเกมและการละเล่น เป็นการสอนให้เขาเข้าใจในโลกแห่งความเป็นจริง
แต่ในขณะเดียวกันถ้าเขาถูกเพื่อนๆล้อเลียนบ่อยๆ ก็จะทำให้สูญเสียความมั่นใจได้
ทางที่ดีที่สุดที่เราสามารถจะช่วยเขาได้คือจับตามองเวลาที่เขาเล่น
และย้ำกับเขาว่า ในการเล่นเกมต้องมีคนแพ้ คนชนะ ไม่มีใครจะชนะได้ตลอดเวลา
เราไม่ควรสอนให้เด็กเป็นคนอยากเอาชนะ แต่ควรสอนให้เขาอยู่
ในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีความสุขจะดีกว่า
ที่มา : http://kidsquare.com/content/content_detail.php?id=1429&catid=371
วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
ดูทีวีมากตอนเล็กทำเด็กเรียนแย่เมื่อโต
นักวิจัยเตือนยิ่งเด็กเล็กดูทีวี มากเท่าไหร่ ยิ่งบั่นทอนสุขภาพ ผลการเรียนและพัฒนาการทางสังคมเมื่อพวกเขามีอายุถึง 10 ขวบ นอกจากนี้ยังมีโอกาสมากขึ้นที่เด็กจะถูกเพื่อนในชั้นรังแก การศึกษาเด็ก 1,300 คนที่จัดทำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนในสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยมอนทรีอัลในแคนาดา พบผลลบต่อเด็กโตจากทุกชั่วโมงที่ดูทีวีขณะยังเล็ก กล่าวคือผลการเรียนแย่ลง และกินอาหารขยะมากขึ้น ในการศึกษานี้ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาพัฒนาการเด็กระยะยาวของรัฐ ควิเบก แคนาดา นักวิจัยได้สอบถามพ่อแม่ว่าลูกดูทีวีมากน้อยแค่ไหนขณะอายุ 29 เดือน (2 ปี 5 เดือน) และ 53 เดือน (4 ปี 5 เดือน) โดยเฉลี่ยแล้วเด็กอายุ 2 ขวบดูทีวีสัปดาห์ละไม่ถึง 9 ชั่วโมง และไม่ถึง 15 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 4 ขวบ กระนั้น 11% ของเด็ก 2 ขวบ และ 23% ของเด็ก 4 ขวบดูทีวีเกินกว่าจำนวนเวลาสูงสุดที่แนะนำที่วันละ 2 ชั่วโมง เมื่อกลับมาพบกันอีกครั้งขณะเด็กอายุ 10 ขวบ นักวิจัยขอให้ครูประเมินผลการเรียน พฤติกรรมและสุขภาพ รวมถึงวัดดัชนีมวลกาย (บีเอ็มไอ) ของเด็ก ซึ่งพบว่ายิ่งดูทีวีมากเท่าไหร่เมื่ออายุ 2 ขวบ เด็กยิ่งมีส่วนร่วมในห้องเรียนน้อยลง ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ตกต่ำ กิจกรรมทางร่างกายโดยรวมลดลง แต่ดื่มน้ำอัดลมและกินขนมขบเคี้ยวมากขึ้น และดัชนีบีเอ็มไอสูงขึ้น นอกจากนี้ การดูทีวีมากเกินไปตอนเล็ก ยังเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะกลายเป็นเหยื่อของเพื่อนร่วมชั้น การศึกษานี้ถือเป็นการศึกษาชิ้นแรกที่มุ่งที่ผลกระทบจากทีวีที่มีต่อเด็ก เล็ก จากในอดีตที่นักวิจัยมักเลือกกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น ดร.ลินดา ปากานี จากมหาวิทยาลัยมอนทรีอัลซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารอาร์ไค ฟ์ส ออฟ เพเดียทริกส์ แอนด์ อะโดเลสเซนต์ เมดิซิน กล่าวว่าวัยเด็กเป็นช่วงเวลาสำหรับพัฒนาการของสมองและรูปแบบพฤติกรรม เช่น การประมวลผลข้อมูล การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจโจทย์คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ กระนั้น การดูทีวีไม่ส่งผลต่อทักษะการอ่านแต่อย่างใด “การดูทีวีนานๆ ระหว่างช่วงเวลานี้อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในอนาคต “เราควรรู้โดยสามัญสำนึกว่าการดูทีวีไปแย่งเวลาสำหรับกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการและภารกิจที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิด พฤติกรรมและการเคลื่อนไหว” อ้างอิงจาก : http://www.baanmuslimah.com/islamichomeschool/node/227#attachments |
การนอนหลับส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
ผลการศึกษาในฟินแลนด์ พบว่า การให้เด็กได้นอนหลับอย่างสนิทในยามค่ำคืน จะช่วยลดพฤติกรรมไฮเปอร์แอ็กทีฟที่พบในเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กอยู่นิ่งไม่เป็น และขาดสมาธิ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ รวมถึงสถาบันสุขภาพและสวัสดิการแห่งชาติในฟินแลนด์ ได้ศึกษาเรื่องนี้กับเด็กสุขภาพดี 280 คน ซึ่งมีอายุ 7-8 ขวบ โดยให้คุณพ่อคุณแม่กรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนของเด็ก และเฝ้าสังเกตอยู่ 7 วัน ว่า เด็กใช้เวลานอนแต่ละคืนมากน้อยเท่าใด นักวิจัยยังให้เด็กใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยตรวจวัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งจะเป็นการยืนยันซ้ำอีกครั้งว่า เด็กได้นอนจริง ๆ วันละกี่ชั่วโมง เพราะบางครั้งการเฝ้าสังเกตของพ่อแม่ก็มีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากเด็กอาจเข้านอนแล้ว แต่ยังไม่ได้หลับตาในทันที หรือยังนั่งอ่านหนังสืออยู่บนเตียง เมื่อได้ข้อมูลเรื่องการนอนของเด็กแล้ว จากนั้นก็มาถึงการตรวจสอบพฤติกรรมของเด็ก โดยใช้แบบทดสอบที่ใช้กับเด็กสมาธิสั้น ผลปรากฏว่า เด็กที่ได้นอนคืนละไม่ถึง 7.7 ชั่วโมง แทนที่จะมีอาการง่วงเหงาหาวนอนหรือเซื่องซึม แต่เด็กเหล่านี้กลับกลายเป็นพวกอยู่นิ่งไม่เป็น และซุกซนมากกว่าปกติ ขาดสมาธิในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ในทางกลับกัน เด็กที่ได้นอนอย่างเต็มอิ่มในยามค่ำคืน จะมีพฤติกรรมสงบนิ่งและมีสมาธิในการทำกิจกรรมมากขึ้น. อ้างอิงจาก : http://www.baanmuslimah.com/islamichomeschool/node/97 |
วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554
คุณค่าศิลปะ 2 (ต่อ)
2. ประตูที่มีผ้าม่านบางเบา
ผ้าม่านบาง ๆ นี้คือสิ่งแวดล้อมที่จัดประสบการณ์ให้เด็ก อยากให้เขาเรียนรู้ คิด ชอบ สนใจ มีคุณลักษณะหรือทัศนคติตามที่คาดหวัง เด็กรับรู้และเลือกที่จะวาดแสดงเรื่องราวตามผ้าม่านผืนนี้ที่ประตูศิลปะของ เขา
สิ่งแวดล้อมที่จัดประสบการณ์ให้เด็กนี้ได้แก่
2.1 พ่อแม่ โดยการจัดหาหนังสือ นิทาน วิดีโอ มาให้เด็กอ่าน มาเล่าให้เด็กฟัง ดู สอนและส่งเสริมให้เด็กวาดรูปต่าง ๆ ให้รางวัล ชมเชย ยกย่อง
2.2 ครู โดยการจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กเกิดความรู้ ทัศนคติ อยากวาดภาพแสดงเรื่องราวที่เป็นผลจากกิจกรรม ประสบการณ์ แนะนำวิธีวาด จัดอุปกรณ์ เวลา สถานที่ให้นักเรียนวาดภาพ
2.3 สื่อ สื่อต่างๆ ที่เสนอรายการ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ หน่วยงานต่าง ๆ
ประตูบานนี้ทำให้เห็นผลจากการชี้นำ สั่งสอน ส่งเสริมของสิ่งแวดล้อมที่ตั้งใจชี้ชวนให้เด็กอยากเปิดออกมาอย่างมีจุดประสงค์ เช่น
- แม่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง ดูภาพประกอบ เพราะอยากให้ลูกเป็นคนดี
- ครูจัดกิจกรรมการสอนเพราะอยากให้เด็กเรียนรู้
- เด็กวาดภาพเพื่อวัดผลการเรียนรู้
- การ์ตูนทีวี มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างกระแสนิยมในหมู่เด็ก ๆ เพื่อผลทางการค้า ส่งเสริมการขาย ขนม หมากฝรั่ง ของเล่น
เด็ก อาจจะแสดงออกจากความชอบ ชอบแล้วอยากวาดเพื่อแสดงอารมณ์ความชอบของตนเอง เช่น วาดรูปโดเรมอน อุลตร้าแมน ชินจัง เพราะความน่ารัก เก่ง เท่ ตลก ม่านผืนนี้แสดงให้เห็นบุคลิกของเด็กที่เป็นคนอ่อนไหวต่อการชี้นำ ไม่ชอบคิดเอง ยึดถืออารมณ์เป็นใหญ่ ไม่ค่อยมีความคิดจินตนาการและเหตุผลของตนเอง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เด็กพวกนี้ควรได้รับคำแนะนำและประสบการณ์ที่ชี้นำในทางที่ดี เพราะเมื่อเด็กโตขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะถูกชักจูง ชี้นำ ตกเป็นเหยื่อ ถูกคดโกง เช่น การสร้างกระแสฟุตบอลโลก เด็กจะสนใจ ตั้งแต่การติดตามการถ่ายทอดการแข่งขัน วาดภาพนักฟุตบอล เชียร์ทีมที่ชอบ พ่อแม่อาจภูมิใจว่าเด็กรักกีฬา แต่ต่อมาอาจกลายเป็นความคลั่งไคล้ พนันขันต่อ เป็นหนี้ แก้แค้น โดยไม่มองเหตุผลของการแข่งขันฟุตบอลว่าคือการออกกำลังกายและสันทนาการเป็น สำคัญ
สถาบัน องค์กรต่าง ๆ ครู พ่อ แม่ มีจุดมุ่งหมายที่จะเห็นพัฒนาการของเด็กทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน จึงได้ส่งเสริม ผลักดัน ทุกวิถีทางให้เด็กได้แสดงออก เด็กได้รับทั้งความจริงใจ โอกาสและวัสดุอปุกรณ์ แต่ด้วยความที่บางคนยังไม่กระจ่างในอุดมคติและปรัชญาของศิลปะ จึงส่งเสริมให้เด็กวาดภาพโดยการขาดการไตร่ตรอง วิจารณญาณ ชี้นำให้เด็กเอนไหลไปตามกระแสดังกล่าว เช่น ต้องวาดระบายสีรูปการ์ตูนที่กำหนด ต้องใช้สีที่กำหนด แพงแค่ไหนก็ยินดีซื้อให้ ให้วาดเลียนแบบศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นต้น
ครูบางคนเป็นผู้มีความสามารถ เชี่ยวชาญศิลปะสาขาใดสาขาหนึ่ง เด่นดังฝังใจในแนวทางที่ตนเองถนัด ก็มักมีแนวโน้มที่จะสอนเน้นหนักในแนวทางของตน เด็กคนใดมีความสามารถผลงานเป็นที่ถูกใจก็ยกย่อง ส่งเสริมโดยอาจละเลยเด็กคนอื่นอีกหลาย ๆ คนที่ต้องเสียโอกาสเรียนรู้ ไม่คำนึงถึงพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่มีความเป็นครูศิลปบูรณาการ นักเรียนจำเป็นต้องเปิดประตูที่มีเฉพาะม่านที่มีสี ลาย เรื่องราวเดียวกับที่ครูชอบ ครูถนัด แต่ด้วยความเป็นเด็ก เสมือนผ้าม่านที่บางเบา อาจพลิ้วเผยให้เห็นความเป็นตัวตนของเขาได้บ้าง เช่น ครูถนัดสีน้ำก็จะพร่ำสอนเน้นสีน้ำเป็นพิเศษ เด็กก็พอได้เผยอารมณ์ออกมาด้วยการสะบัดสีบนกระดาษ แล้วอ้างว่าเป็นภาพนามธรรม หลายคนอาจทึ่งหรือชื่นชมว่าเด็กลึกซึ้ง เข้าถึงศิลปะ แต่เขาไม่ได้ฝึกทักษะ ความละเอียดอ่อนหรือเชื่อมโยงกับภูมิความรู้อื่น ความเสื่อมถอยทางปัญญา ทุนนิยม บริโภคนิยม ได้แฝงมากับความสวยงาม น่ารัก แต่เราจะหาภูมิรู้อะไรมาเชือมต่อ อธิบายคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิเวศวิทยา ฯลฯ จากภาพที่เด็กเรารับมา เขาจะเอาคุณค่านี้ไปแก้ปัญหา สร้างชาติ ได้อย่างไร
แล้วหากครูที่ถนัดเฉพาะลายไทย สอนเน้นลายไทยให้ตลอด เอาจริงเอาจรัง เคร่งขรึมทำให้น่าศรัทธา ไม่ตลก ชอบยกตัวอย่างลวดลายตามวัด ตามเมรุและโลงศพ นักเรียนคงรู้สึกสยองกับการเรียนศิลปะ เด็กคงไม่อยากมี ไม่อยากเปิดม่านประตูนี้ หรืออยากเลือกผ้าม่านผืนอื่น ๆ ที่พอจะกลมกลืนกับใจของตนดูบ้าง
ที่มาของบทความ : เราเห็นอะไรในศิลปะเด็ก โดย ปริญญา นันตสุข
ผ้าม่านบาง ๆ นี้คือสิ่งแวดล้อมที่จัดประสบการณ์ให้เด็ก อยากให้เขาเรียนรู้ คิด ชอบ สนใจ มีคุณลักษณะหรือทัศนคติตามที่คาดหวัง เด็กรับรู้และเลือกที่จะวาดแสดงเรื่องราวตามผ้าม่านผืนนี้ที่ประตูศิลปะของ เขา
สิ่งแวดล้อมที่จัดประสบการณ์ให้เด็กนี้ได้แก่
2.1 พ่อแม่ โดยการจัดหาหนังสือ นิทาน วิดีโอ มาให้เด็กอ่าน มาเล่าให้เด็กฟัง ดู สอนและส่งเสริมให้เด็กวาดรูปต่าง ๆ ให้รางวัล ชมเชย ยกย่อง
2.2 ครู โดยการจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กเกิดความรู้ ทัศนคติ อยากวาดภาพแสดงเรื่องราวที่เป็นผลจากกิจกรรม ประสบการณ์ แนะนำวิธีวาด จัดอุปกรณ์ เวลา สถานที่ให้นักเรียนวาดภาพ
2.3 สื่อ สื่อต่างๆ ที่เสนอรายการ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ หน่วยงานต่าง ๆ
ประตูบานนี้ทำให้เห็นผลจากการชี้นำ สั่งสอน ส่งเสริมของสิ่งแวดล้อมที่ตั้งใจชี้ชวนให้เด็กอยากเปิดออกมาอย่างมีจุดประสงค์ เช่น
- แม่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง ดูภาพประกอบ เพราะอยากให้ลูกเป็นคนดี
- ครูจัดกิจกรรมการสอนเพราะอยากให้เด็กเรียนรู้
- เด็กวาดภาพเพื่อวัดผลการเรียนรู้
- การ์ตูนทีวี มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างกระแสนิยมในหมู่เด็ก ๆ เพื่อผลทางการค้า ส่งเสริมการขาย ขนม หมากฝรั่ง ของเล่น
เด็ก อาจจะแสดงออกจากความชอบ ชอบแล้วอยากวาดเพื่อแสดงอารมณ์ความชอบของตนเอง เช่น วาดรูปโดเรมอน อุลตร้าแมน ชินจัง เพราะความน่ารัก เก่ง เท่ ตลก ม่านผืนนี้แสดงให้เห็นบุคลิกของเด็กที่เป็นคนอ่อนไหวต่อการชี้นำ ไม่ชอบคิดเอง ยึดถืออารมณ์เป็นใหญ่ ไม่ค่อยมีความคิดจินตนาการและเหตุผลของตนเอง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เด็กพวกนี้ควรได้รับคำแนะนำและประสบการณ์ที่ชี้นำในทางที่ดี เพราะเมื่อเด็กโตขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะถูกชักจูง ชี้นำ ตกเป็นเหยื่อ ถูกคดโกง เช่น การสร้างกระแสฟุตบอลโลก เด็กจะสนใจ ตั้งแต่การติดตามการถ่ายทอดการแข่งขัน วาดภาพนักฟุตบอล เชียร์ทีมที่ชอบ พ่อแม่อาจภูมิใจว่าเด็กรักกีฬา แต่ต่อมาอาจกลายเป็นความคลั่งไคล้ พนันขันต่อ เป็นหนี้ แก้แค้น โดยไม่มองเหตุผลของการแข่งขันฟุตบอลว่าคือการออกกำลังกายและสันทนาการเป็น สำคัญ
สถาบัน องค์กรต่าง ๆ ครู พ่อ แม่ มีจุดมุ่งหมายที่จะเห็นพัฒนาการของเด็กทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน จึงได้ส่งเสริม ผลักดัน ทุกวิถีทางให้เด็กได้แสดงออก เด็กได้รับทั้งความจริงใจ โอกาสและวัสดุอปุกรณ์ แต่ด้วยความที่บางคนยังไม่กระจ่างในอุดมคติและปรัชญาของศิลปะ จึงส่งเสริมให้เด็กวาดภาพโดยการขาดการไตร่ตรอง วิจารณญาณ ชี้นำให้เด็กเอนไหลไปตามกระแสดังกล่าว เช่น ต้องวาดระบายสีรูปการ์ตูนที่กำหนด ต้องใช้สีที่กำหนด แพงแค่ไหนก็ยินดีซื้อให้ ให้วาดเลียนแบบศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นต้น
ครูบางคนเป็นผู้มีความสามารถ เชี่ยวชาญศิลปะสาขาใดสาขาหนึ่ง เด่นดังฝังใจในแนวทางที่ตนเองถนัด ก็มักมีแนวโน้มที่จะสอนเน้นหนักในแนวทางของตน เด็กคนใดมีความสามารถผลงานเป็นที่ถูกใจก็ยกย่อง ส่งเสริมโดยอาจละเลยเด็กคนอื่นอีกหลาย ๆ คนที่ต้องเสียโอกาสเรียนรู้ ไม่คำนึงถึงพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่มีความเป็นครูศิลปบูรณาการ นักเรียนจำเป็นต้องเปิดประตูที่มีเฉพาะม่านที่มีสี ลาย เรื่องราวเดียวกับที่ครูชอบ ครูถนัด แต่ด้วยความเป็นเด็ก เสมือนผ้าม่านที่บางเบา อาจพลิ้วเผยให้เห็นความเป็นตัวตนของเขาได้บ้าง เช่น ครูถนัดสีน้ำก็จะพร่ำสอนเน้นสีน้ำเป็นพิเศษ เด็กก็พอได้เผยอารมณ์ออกมาด้วยการสะบัดสีบนกระดาษ แล้วอ้างว่าเป็นภาพนามธรรม หลายคนอาจทึ่งหรือชื่นชมว่าเด็กลึกซึ้ง เข้าถึงศิลปะ แต่เขาไม่ได้ฝึกทักษะ ความละเอียดอ่อนหรือเชื่อมโยงกับภูมิความรู้อื่น ความเสื่อมถอยทางปัญญา ทุนนิยม บริโภคนิยม ได้แฝงมากับความสวยงาม น่ารัก แต่เราจะหาภูมิรู้อะไรมาเชือมต่อ อธิบายคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิเวศวิทยา ฯลฯ จากภาพที่เด็กเรารับมา เขาจะเอาคุณค่านี้ไปแก้ปัญหา สร้างชาติ ได้อย่างไร
แล้วหากครูที่ถนัดเฉพาะลายไทย สอนเน้นลายไทยให้ตลอด เอาจริงเอาจรัง เคร่งขรึมทำให้น่าศรัทธา ไม่ตลก ชอบยกตัวอย่างลวดลายตามวัด ตามเมรุและโลงศพ นักเรียนคงรู้สึกสยองกับการเรียนศิลปะ เด็กคงไม่อยากมี ไม่อยากเปิดม่านประตูนี้ หรืออยากเลือกผ้าม่านผืนอื่น ๆ ที่พอจะกลมกลืนกับใจของตนดูบ้าง
ที่มาของบทความ : เราเห็นอะไรในศิลปะเด็ก โดย ปริญญา นันตสุข
คุณค่าศิลปะ 1
1. ประตูที่มีผ้าม่านของผู้อื่น
ผู้ใหญ่ และครูหลายคนอยากให้เด็กมีประตูบานนี้ มุ่งหวังให้วาดภาพตามค่านิยม และวิธีการของผู้อื่น นำเอาความคิด ทัศนะ ค่านิยมของผู้อื่นมาเป็นผ้าม่านบังประตูศิลปะของเด็ก ให้สาธารณะชนชื่นชมแต่สิ่งที่ผู้อื่นให้เด็กทำ ไม่คำนึงถึงสภาวะอารมณ์ รสนิยม ทัศนคติ และวุฒิภาวะของเด็ก ใช้สิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นให้เด็กทำงาน เช่น คำสั่ง คะแนน รางวัล การแข่งขัน เป็นต้น โดยที่เด็กยังไม่ได้เรียนรู้คุณค่า ที่มาที่ไปในสิ่งที่วาด เช่น ครูให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาวาดภาพเรื่องยาเสพติดเพื่อส่งเข้าประกวด ซึ่งตามธรรมชาติของเด็กวัยนี้เขาจะสนใจการเล่นสนุกสนาน ยังไม่เคยรับรู้หรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือการประกวดวาดภาพระบายสีของสินค้าต่าง ๆ เป็นความพยายามใช้ผ้าม่านให้เด็กได้แสดงออกที่ถูกใจผู้จัดประกวด จึงต้องมีการกำหนดกรอบ หัวข้อ กฎ กติกามาบังคับ เด็กอยากชนะก็ต้องทำตามอย่างนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจะต้องฝึกฝนอย่างหนัก ต้องมีอุปกรณ์ดี ๆ ครูต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ต้องกะเก็งแนวทางรสนิยมของผู้จัดว่าชอบแนวทางใด ซึ่งมักทำเพื่อจูงใจให้เด็กสนใจสินค้า ภาพพจน์ กิจกรรม หรือรสนิยมที่ผู้จัดต้องการ
ผลงานศิลปะที่มิใช่ตัวตนของเด็ก เห็นได้จากภาพที่ส่งเข้าประกวดหรือชนะการประกวดในบางรายการ เช่น ภาพการละเล่นของเด็กไทย เป็นเด็กหัวจุกนุ่งโจงกระเบนเล่นมอญซ่อนผ้า หรือภาพการต่อต้านยาเสพติด เด็กต้องวาดให้ดูน่ากลัว มีคนติดยาเสพติดผอมหนังหุ้มกระดูก มืดมัวซัว มีไฟเผาผลาญ มีหัวกะโหลก เด็กมัธยมฯ ที่มุ่งมั่นเอาดีทางด้านการประกวดจะต้องฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อรางวัล ชื่อเสียง เด็กระดับประถมฯ ก็ต้องทำอย่างนั้นตามที่ครูหรือผู้ใหญ่คาดหวัง ขณะที่เขาไม่เคยมีประสบการณ์ความคิด หรือไม่เคยสนใจยาเสพติดเลย บางครั้งต้องวาดภาพอีกซีกด้านหนึ่งของภาพเป็นเรื่องที่ขัดแย้งหรือตรงกัน ข้ามกันกับโทษของยาเสพติด เช่น ภาพบรรยากาศสดใส คนยิ้มแย้ม ออกกำลังกาย ฯลฯ เด็กต้องทุ่มเท มุ่งมั่น ดังนั้นเบื้องหลังภาพเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยความหวัง ความขัดแย้ง การแข่งขัน ความเครียด โลภ สะใจ กระหยิ่มยิ้มย่อง หรือเหนื่อย ผิดหวัง ท้อแท้ โกรธเคือง ทุ่มเถียง ฯลฯ
ภาพ บางภาพงามจับตาแต่แพ้เพราะขนาดไม่เท่ากับที่กำหนด สีไม่เด่นสะดุดตาหรือภาพหัวกะโหลกมันจะดูยิ้ม ๆ น่ารักมากกว่าน่ากลัว เราจะคิดว่าเด็กวาดภาพไม่เก่ง หรือเด็กมองโลกในแง่ดีจึงจะถูกต้อง จะตัดสินให้คนที่มองโลกในแง่ดีเป็นผู้แพ้อย่างนั้นหรือ เด็กอยากชนะการต่อต้านยาเสพติดต้องวาดให้น่ากลัว โหดร้าย มืดมัวซัว วาดเรื่องประเพณีไทยต้องเด็กหัวจุก โจงกระเบน วาดในงานวันวิทยาศาสตร์ต้องมียานอวกาศ ดวงดาว วาดเรื่องเบียร์ต้องวาดให้ดูน่าดื่ม ให้รู้สึกว่าเป็นของจำเป็น คู่ควรกับงานมงคลหรือพิธีสำคัญ ฯลฯ เมื่อกระแสแข่งขันทางการค้ากลายเป็นกระแสหลักในสังคม เห็นการประกวดวาดภาพเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเด็กอยู่ ต่อไปเราอาจได้เห็นการประกวดวาดภาพโดยบริษัทจำหน่ายบุหรี่ก็ได้
ม่านที่มีสีจัดจ้าน เข้มข้น หนาหนัก ที่ผู้อื่นเคี่ยวเข็ญพยายามให้เด็กใช้นี้ได้ปิดบังสายตามิให้ใครรู้ว่าเด็ก ที่วาดภาพนี้มีอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ค่านิยมและจินตนาการอย่างไร สิ่งที่แสดงให้เห็นที่ประตูคือม่านที่แสดงเรื่องราวที่ผู้อื่นอยากให้เขา มี อยากให้เขาเป็นในขณะที่เด็กอาจไม่พร้อมทางด้านประสบการณ์ ความรู้ ค่านิยม จินตนาการ ฝีมือและอุปกรณ์ เด็กจึงต้องมุ่งมั่นทำงานอย่างหมกมุ่นกับหัวข้อ เกณฑ์บังคับ ขนาด รูปแบบ การจัดภาพ สัดส่วน แรเงาอ่อนแก่ องค์ประกอบศิลป์ กระดาษ สี พู่กัน ฯลฯ ถ้ามือไม่ถึงสีก็เน่า ดูประดักประเดิด กลัวคนอื่นตำหนิ อยากชนะ กลัวไม่ชนะ เคยชนะมาแล้วก็ถูกจับตามอง หรือคิดว่าคนอื่นจับตามอง แบ่งเขาแบ่งเรา
สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่พ่อแม่ หรือครูคาดหวังกับเด็กมากจนเกินไป อยากให้เด็กของตนเก่งเหนือคนอื่น ชนะคนอื่น เด็กต้องแบกความหวังของผู้ใหญ่ หากชนะ พ่อแม่ครูก็ภูมิใจ ได้ผลงาน ได้อวดใคร ๆ เป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง เด็กจะค่อยซึมซึมเอาความเห็นแก่ตัว ไม่เอื้อเฟื้อ ยกตนข่มท่าน ขาดเพื่อนและมีปัญหาทางสังคมไม่มากก็น้อยโดยไม่รู้ตัว
ศิลปินสมัยใหม่นับตั้งแต่กลุ่มคิวบิสม์ กลุ่มเอกซเพรสชั่นนิสม์ กลุ่มบัดดัล กลุ่มจัดวาง หรือกลุ่มเพื่อชีวิต เหล่านี้ล้วนพยายามทิ้งหลักทฤษฎีทางศิลปะที่ฝึกฝนมาตลอดชีวิตเพื่อสร้างผล งานศิลปะสื่อจิตวิญญาณของตนเองโดยเฉพาะ แต่เด็กโชคดีที่ไม่มีเงื่อนไขทางทฤษฎี สำนัก ลัทธิ หรืออิทธิพลต่าง ๆ ทางศิลปะมาเป็นกรอบกั้นความคิด และจิตวิญญาณเขาได้ เขาจึงมีอิสระที่จะวาดหรือแสดงออกอย่างเบิกบานใจ สนุกสนาน การวาดตามใจชอบ วาดเล่น วาดตามพื้นดิน สนาม การเล่นหัวหกก้นขวิดเหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงออกด้วยจิตวิญญาณทางศิลปะของ เด็กทั้งสิ้น หากครูหรือใคร ๆ พยายามยัดเยียดหลักทฤษฎี รูปแบบ หรือสร้างอิทธิพลทางศิลปะให้กับเด็กมากเกินไป เขาจะได้รับรู้เพียงกลางทางของศิลปะโดยเสียโอกาสที่จะได้ค้นพบต้นทางและปลาย ทางของศิลปะที่แท้จริงของตนเอง ต้นทางคือ "ความดี ความงาม ความพอใจ ความจริง ของความเป็นมนุษย์" ความเป็นสัตว์โลกที่มีจิตวิญญาณทางศิลปะ ปลายทางคือแรงขับ(ไฟศิลป์) ที่จะสื่อหรือถ่ายทอดจิตวิญญาณนั้นออกมาเป็นรูปแบบของตนเองที่ชื่นชูจิตใจตน เองและผู้คนได้
ที่มาของบทความ : เราเห็นอะไรในศิลปะเด็ก (ปริญญา นันตสุข)
ผู้ใหญ่ และครูหลายคนอยากให้เด็กมีประตูบานนี้ มุ่งหวังให้วาดภาพตามค่านิยม และวิธีการของผู้อื่น นำเอาความคิด ทัศนะ ค่านิยมของผู้อื่นมาเป็นผ้าม่านบังประตูศิลปะของเด็ก ให้สาธารณะชนชื่นชมแต่สิ่งที่ผู้อื่นให้เด็กทำ ไม่คำนึงถึงสภาวะอารมณ์ รสนิยม ทัศนคติ และวุฒิภาวะของเด็ก ใช้สิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นให้เด็กทำงาน เช่น คำสั่ง คะแนน รางวัล การแข่งขัน เป็นต้น โดยที่เด็กยังไม่ได้เรียนรู้คุณค่า ที่มาที่ไปในสิ่งที่วาด เช่น ครูให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาวาดภาพเรื่องยาเสพติดเพื่อส่งเข้าประกวด ซึ่งตามธรรมชาติของเด็กวัยนี้เขาจะสนใจการเล่นสนุกสนาน ยังไม่เคยรับรู้หรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือการประกวดวาดภาพระบายสีของสินค้าต่าง ๆ เป็นความพยายามใช้ผ้าม่านให้เด็กได้แสดงออกที่ถูกใจผู้จัดประกวด จึงต้องมีการกำหนดกรอบ หัวข้อ กฎ กติกามาบังคับ เด็กอยากชนะก็ต้องทำตามอย่างนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจะต้องฝึกฝนอย่างหนัก ต้องมีอุปกรณ์ดี ๆ ครูต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ต้องกะเก็งแนวทางรสนิยมของผู้จัดว่าชอบแนวทางใด ซึ่งมักทำเพื่อจูงใจให้เด็กสนใจสินค้า ภาพพจน์ กิจกรรม หรือรสนิยมที่ผู้จัดต้องการ
ผลงานศิลปะที่มิใช่ตัวตนของเด็ก เห็นได้จากภาพที่ส่งเข้าประกวดหรือชนะการประกวดในบางรายการ เช่น ภาพการละเล่นของเด็กไทย เป็นเด็กหัวจุกนุ่งโจงกระเบนเล่นมอญซ่อนผ้า หรือภาพการต่อต้านยาเสพติด เด็กต้องวาดให้ดูน่ากลัว มีคนติดยาเสพติดผอมหนังหุ้มกระดูก มืดมัวซัว มีไฟเผาผลาญ มีหัวกะโหลก เด็กมัธยมฯ ที่มุ่งมั่นเอาดีทางด้านการประกวดจะต้องฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อรางวัล ชื่อเสียง เด็กระดับประถมฯ ก็ต้องทำอย่างนั้นตามที่ครูหรือผู้ใหญ่คาดหวัง ขณะที่เขาไม่เคยมีประสบการณ์ความคิด หรือไม่เคยสนใจยาเสพติดเลย บางครั้งต้องวาดภาพอีกซีกด้านหนึ่งของภาพเป็นเรื่องที่ขัดแย้งหรือตรงกัน ข้ามกันกับโทษของยาเสพติด เช่น ภาพบรรยากาศสดใส คนยิ้มแย้ม ออกกำลังกาย ฯลฯ เด็กต้องทุ่มเท มุ่งมั่น ดังนั้นเบื้องหลังภาพเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยความหวัง ความขัดแย้ง การแข่งขัน ความเครียด โลภ สะใจ กระหยิ่มยิ้มย่อง หรือเหนื่อย ผิดหวัง ท้อแท้ โกรธเคือง ทุ่มเถียง ฯลฯ
ภาพ บางภาพงามจับตาแต่แพ้เพราะขนาดไม่เท่ากับที่กำหนด สีไม่เด่นสะดุดตาหรือภาพหัวกะโหลกมันจะดูยิ้ม ๆ น่ารักมากกว่าน่ากลัว เราจะคิดว่าเด็กวาดภาพไม่เก่ง หรือเด็กมองโลกในแง่ดีจึงจะถูกต้อง จะตัดสินให้คนที่มองโลกในแง่ดีเป็นผู้แพ้อย่างนั้นหรือ เด็กอยากชนะการต่อต้านยาเสพติดต้องวาดให้น่ากลัว โหดร้าย มืดมัวซัว วาดเรื่องประเพณีไทยต้องเด็กหัวจุก โจงกระเบน วาดในงานวันวิทยาศาสตร์ต้องมียานอวกาศ ดวงดาว วาดเรื่องเบียร์ต้องวาดให้ดูน่าดื่ม ให้รู้สึกว่าเป็นของจำเป็น คู่ควรกับงานมงคลหรือพิธีสำคัญ ฯลฯ เมื่อกระแสแข่งขันทางการค้ากลายเป็นกระแสหลักในสังคม เห็นการประกวดวาดภาพเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเด็กอยู่ ต่อไปเราอาจได้เห็นการประกวดวาดภาพโดยบริษัทจำหน่ายบุหรี่ก็ได้
ม่านที่มีสีจัดจ้าน เข้มข้น หนาหนัก ที่ผู้อื่นเคี่ยวเข็ญพยายามให้เด็กใช้นี้ได้ปิดบังสายตามิให้ใครรู้ว่าเด็ก ที่วาดภาพนี้มีอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ค่านิยมและจินตนาการอย่างไร สิ่งที่แสดงให้เห็นที่ประตูคือม่านที่แสดงเรื่องราวที่ผู้อื่นอยากให้เขา มี อยากให้เขาเป็นในขณะที่เด็กอาจไม่พร้อมทางด้านประสบการณ์ ความรู้ ค่านิยม จินตนาการ ฝีมือและอุปกรณ์ เด็กจึงต้องมุ่งมั่นทำงานอย่างหมกมุ่นกับหัวข้อ เกณฑ์บังคับ ขนาด รูปแบบ การจัดภาพ สัดส่วน แรเงาอ่อนแก่ องค์ประกอบศิลป์ กระดาษ สี พู่กัน ฯลฯ ถ้ามือไม่ถึงสีก็เน่า ดูประดักประเดิด กลัวคนอื่นตำหนิ อยากชนะ กลัวไม่ชนะ เคยชนะมาแล้วก็ถูกจับตามอง หรือคิดว่าคนอื่นจับตามอง แบ่งเขาแบ่งเรา
สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่พ่อแม่ หรือครูคาดหวังกับเด็กมากจนเกินไป อยากให้เด็กของตนเก่งเหนือคนอื่น ชนะคนอื่น เด็กต้องแบกความหวังของผู้ใหญ่ หากชนะ พ่อแม่ครูก็ภูมิใจ ได้ผลงาน ได้อวดใคร ๆ เป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง เด็กจะค่อยซึมซึมเอาความเห็นแก่ตัว ไม่เอื้อเฟื้อ ยกตนข่มท่าน ขาดเพื่อนและมีปัญหาทางสังคมไม่มากก็น้อยโดยไม่รู้ตัว
ศิลปินสมัยใหม่นับตั้งแต่กลุ่มคิวบิสม์ กลุ่มเอกซเพรสชั่นนิสม์ กลุ่มบัดดัล กลุ่มจัดวาง หรือกลุ่มเพื่อชีวิต เหล่านี้ล้วนพยายามทิ้งหลักทฤษฎีทางศิลปะที่ฝึกฝนมาตลอดชีวิตเพื่อสร้างผล งานศิลปะสื่อจิตวิญญาณของตนเองโดยเฉพาะ แต่เด็กโชคดีที่ไม่มีเงื่อนไขทางทฤษฎี สำนัก ลัทธิ หรืออิทธิพลต่าง ๆ ทางศิลปะมาเป็นกรอบกั้นความคิด และจิตวิญญาณเขาได้ เขาจึงมีอิสระที่จะวาดหรือแสดงออกอย่างเบิกบานใจ สนุกสนาน การวาดตามใจชอบ วาดเล่น วาดตามพื้นดิน สนาม การเล่นหัวหกก้นขวิดเหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงออกด้วยจิตวิญญาณทางศิลปะของ เด็กทั้งสิ้น หากครูหรือใคร ๆ พยายามยัดเยียดหลักทฤษฎี รูปแบบ หรือสร้างอิทธิพลทางศิลปะให้กับเด็กมากเกินไป เขาจะได้รับรู้เพียงกลางทางของศิลปะโดยเสียโอกาสที่จะได้ค้นพบต้นทางและปลาย ทางของศิลปะที่แท้จริงของตนเอง ต้นทางคือ "ความดี ความงาม ความพอใจ ความจริง ของความเป็นมนุษย์" ความเป็นสัตว์โลกที่มีจิตวิญญาณทางศิลปะ ปลายทางคือแรงขับ(ไฟศิลป์) ที่จะสื่อหรือถ่ายทอดจิตวิญญาณนั้นออกมาเป็นรูปแบบของตนเองที่ชื่นชูจิตใจตน เองและผู้คนได้
ที่มาของบทความ : เราเห็นอะไรในศิลปะเด็ก (ปริญญา นันตสุข)
ศิลปะกับพื้นฐานการศึกษา
ในปัจจุบันสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การดำรงชีวิตประจำวันของคนที่รีบด่วน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ปัญหาต่าง ๆ ของสังคมในความสับสนวุ่นวายนี้ การให้การศึกษาที่ถูกต้องจะเป็นหนทางในการขจัดความโง่เขลาและความหลงผิดต่าง ๆ ได้
ในวงการศึกษาถือว่า ศิลปะและดนตรี เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อแท้ของกระบวนการศึกษา เพราะศิลปะและดนตรีสามารถพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และบุคลิกภาพ
การเรียนเกี่ยวกับศิลปะจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจใน คุณค่าของสุนทรียภาพและการสร้างสรรค์ รู้ค่าของความผูกพันระหว่างชีวิตกับศิลปะ ทำให้เกิดค่านิยมที่ดีต่อศิลปะวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนศิลปะจึงมีความสำคัญต่อการศึกษามาก เพราะศิลปะเป็นพื้นฐานของประสบการณ์อื่น และยังสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้เด็กมีพฤติกรรมอันดีงามที่พึงประสงค์อีกด้วย
ศิลปะเป็นวิชาที่ยอมรับกันว่า เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็ก ๆ อยู่ จะเห็นว่าการเรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กมากกว่าผลงาน ดังจะเห็นว่ากิจกรรมต่าง ๆ ทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงและสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่น การปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป ระบายสี และกิจกรรมอื่น ๆ
เด็กได้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ช่วยทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางด้านร่างกาย เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป
การวาดรูประบายสีก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงาน ประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จักสี เส้น รูปทรง พื้นผิว และขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา
การให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพที่เขาวาด จะเป็นการฝึกพูดใช้ภาพในการสื่อสาร แสดงจินตนาการ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ลวดลายและเส้นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในภาพของเด็กประกอบด้วย เส้นพื้นฐานที่นำไปสู่การเขียนตัวเลข ตัวหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยไม่จำเป็นต้องทำแบบฝึกหัดลีลามือ ขีดเส้นตั้ง เส้นนอนและอื่น ๆ เลย เพราะในการวาดภาพของเด็กจะประกอบด้วยเส้นเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ให้เด็กวาดภาพมาก ๆ นอกจากเด็กจะสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อมือแข็งแรง สามารถควบคุมการใช้มือและจับดินสอเขียนหนังสือได้ในที่สุด
ที่มาของบทความ : หนังสือศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย โดย สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล
ในวงการศึกษาถือว่า ศิลปะและดนตรี เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อแท้ของกระบวนการศึกษา เพราะศิลปะและดนตรีสามารถพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และบุคลิกภาพ
การเรียนเกี่ยวกับศิลปะจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความเข้าใจใน คุณค่าของสุนทรียภาพและการสร้างสรรค์ รู้ค่าของความผูกพันระหว่างชีวิตกับศิลปะ ทำให้เกิดค่านิยมที่ดีต่อศิลปะวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนศิลปะจึงมีความสำคัญต่อการศึกษามาก เพราะศิลปะเป็นพื้นฐานของประสบการณ์อื่น และยังสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้เด็กมีพฤติกรรมอันดีงามที่พึงประสงค์อีกด้วย
ศิลปะเป็นวิชาที่ยอมรับกันว่า เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็ก ๆ อยู่ จะเห็นว่าการเรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กมากกว่าผลงาน ดังจะเห็นว่ากิจกรรมต่าง ๆ ทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงและสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่น การปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป ระบายสี และกิจกรรมอื่น ๆ
เด็กได้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ช่วยทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางด้านร่างกาย เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป
การวาดรูประบายสีก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงาน ประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จักสี เส้น รูปทรง พื้นผิว และขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา
การให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพที่เขาวาด จะเป็นการฝึกพูดใช้ภาพในการสื่อสาร แสดงจินตนาการ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ลวดลายและเส้นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในภาพของเด็กประกอบด้วย เส้นพื้นฐานที่นำไปสู่การเขียนตัวเลข ตัวหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยไม่จำเป็นต้องทำแบบฝึกหัดลีลามือ ขีดเส้นตั้ง เส้นนอนและอื่น ๆ เลย เพราะในการวาดภาพของเด็กจะประกอบด้วยเส้นเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ให้เด็กวาดภาพมาก ๆ นอกจากเด็กจะสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อมือแข็งแรง สามารถควบคุมการใช้มือและจับดินสอเขียนหนังสือได้ในที่สุด
ที่มาของบทความ : หนังสือศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย โดย สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล
พัฒนาการทางศิลปะเด็ก 4-7 ปี
ขั้นเริ่มต้นเขียนภาพให้มีความหมาย (Preschematic Stage) เด็กในขั้นพัฒนาการนี้จะมีอายุประมาณ 4-7 ปี เด็กจะเริ่มเปลี่ยนจากกิจกรรมการเคลื่อนไหวมาสร้างความสัมพันธ์ของภาพที่ เขียนกับสิ่งแวดล้อม ภาพที่เขียนเริ่มสื่อความหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตามขั้นอายุและวุฒิภาวะของเด็ก
เด็ก จะเริ่มแทนด้วยรูปง่าย ๆ ซึ่งมักจะเป็นวงกลมและศีรษะ การพัฒนาจะค่อยเป็นค่อยไป จากหัวกลมมีเส้นดิ่งเป็นขา อันเป็นลักษณะเด่นของพัฒนาการในขั้นนี้ เนื่องจากกิจกรรมที่เด็กทำเสมอ ๆ คือ กิน และเล่น หัวมีปากไว้กินอาหาร และเท้าไว้สำหรับวิ่งเล่น กิจกรรมทั้งสองนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก และเมื่อเด็กโตขึ้นก็สามารถพัฒนาต่อไป มีแขนอยู่ข้างขา หรือหัว และจะค่อย ๆ สมบูรณ์มากขึ้น สัญลักษณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงได้หลายรูปแบบ เพราะเด็กกำลังแสวงหาภาพที่ตนเองพอใจ แม้กระทั่งการเขียนในเวลาเดียวกัน เด็กก็สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดได้ตลอดเวลา
เด็กวาดภาพสิ่งที่เขาสนใจมากกว่าความเป็นจริง หรือสิ่งที่เขารู้ ถึงแม้ว่าเด็กเริ่มสื่อความหมายของภาพได้ แต่การแสดงออกก็ยังเป็นไปในลักษณะที่เด็กเข้าใจ หากพิจารณาพื้นที่ว่างภายในภาพจะพบว่ายังไม่มีระเบียบ สิ่งต่าง ๆ ในภาพไม่สัมพันธ์กัน การระบายสีของสิ่งต่าง ๆ ในภาพจะเป็นไปตามใจชอบ ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง นอกจากสีของสิ่งที่ประทับใจเท่านั้น ที่เด็กอาจใช้ได้ตรงความเป็นจริงและยังไม่รู้จักการออกแบบ
ในช่วงของการเขียนภาพเริ่มมีความหมายนั้นสามารถแบ่งออกตามอายุได้ดังนี้
-อายุประมาณ 4 ปี การวาดภาพมีลักษณะที่พอเข้าใจได้ สามารถเดาได้
-อายุประมาณ 5 ปี เด็กสามารถวาดภาพได้ชัดเจนมากขึ้น รูปที่วาดมักเป็นรูปคน บ้าน หรือต้นไม้ ยังไม่มีการจัดภาพ การใช้สีตามความพอใจไม่คำนึงถึงความเป็นจริง
-อายุประมาณ 6-7 ปี สามารถแสดงออกเป็นภาพได้ชัดเจน แต่มีความแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเด็ก
ลักษณะการวาดภาพของเด็กตามพัฒนาการในขั้นนี้ สังเกตได้จากส่วนประกอบในภาพดังนี้
การวาดภาพคน เด็กจะเขียนวงกลมแทนศีรษะ มีเส้นยาวแทนแขนและขา ยังไม่มีลำตัวในระยะต้น เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น จะแสดงออกเป็นลำตัว และมีรายละเอียดของใบหน้าเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นเพียงสัญลักษณ์ของส่วนนั้น
การใช้สี เด็กจะใช้สีตามอารมณ์ ยังไม่สามารถใช้สีอย่างถูกต้อง เด็กจะใช้สีที่สะดุดตา และความชอบส่วนตัวเป็นหลัก ไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นจริง แต่บางครั้งเด็กอาจใช้สีใดสีหนึ่งตรงกับความเป็นจริง เมื่อเด็กมีความประทับใจสีนั้น ๆ
การใช้พื้นที่ว่าง เด็กยังไม่เข้าใจว่าควรจะวาดภาพตรงส่วนใดจึงจะเหมาะสม ภาพวาดจึงขาดระเบียบ บริเวณพื้นที่ใดว่าง เด็กก็มักจะวาดสิ่งต่าง ๆ ลงในบริเวณนั้น โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ ซึ่งสิ่งที่เด็กวาดจะไม่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ว่างเลย
การออกแบบ เด็กยังไม่เข้าใจการออกแบบ จึงยังไม่มีการออกแบบ
คำอธิบายลักษณะพัฒนาการทางศิลปะในด้านการวาดภาพระบายสีขั้นที่สอง ของเด็กอายุ 4-7 ปี ตามหลักทฤษฎีของ วิคเตอร์ โลเวนเฟลด์
เด็ก จะเริ่มแทนด้วยรูปง่าย ๆ ซึ่งมักจะเป็นวงกลมและศีรษะ การพัฒนาจะค่อยเป็นค่อยไป จากหัวกลมมีเส้นดิ่งเป็นขา อันเป็นลักษณะเด่นของพัฒนาการในขั้นนี้ เนื่องจากกิจกรรมที่เด็กทำเสมอ ๆ คือ กิน และเล่น หัวมีปากไว้กินอาหาร และเท้าไว้สำหรับวิ่งเล่น กิจกรรมทั้งสองนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก และเมื่อเด็กโตขึ้นก็สามารถพัฒนาต่อไป มีแขนอยู่ข้างขา หรือหัว และจะค่อย ๆ สมบูรณ์มากขึ้น สัญลักษณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงได้หลายรูปแบบ เพราะเด็กกำลังแสวงหาภาพที่ตนเองพอใจ แม้กระทั่งการเขียนในเวลาเดียวกัน เด็กก็สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดได้ตลอดเวลา
เด็กวาดภาพสิ่งที่เขาสนใจมากกว่าความเป็นจริง หรือสิ่งที่เขารู้ ถึงแม้ว่าเด็กเริ่มสื่อความหมายของภาพได้ แต่การแสดงออกก็ยังเป็นไปในลักษณะที่เด็กเข้าใจ หากพิจารณาพื้นที่ว่างภายในภาพจะพบว่ายังไม่มีระเบียบ สิ่งต่าง ๆ ในภาพไม่สัมพันธ์กัน การระบายสีของสิ่งต่าง ๆ ในภาพจะเป็นไปตามใจชอบ ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง นอกจากสีของสิ่งที่ประทับใจเท่านั้น ที่เด็กอาจใช้ได้ตรงความเป็นจริงและยังไม่รู้จักการออกแบบ
ในช่วงของการเขียนภาพเริ่มมีความหมายนั้นสามารถแบ่งออกตามอายุได้ดังนี้
-อายุประมาณ 4 ปี การวาดภาพมีลักษณะที่พอเข้าใจได้ สามารถเดาได้
-อายุประมาณ 5 ปี เด็กสามารถวาดภาพได้ชัดเจนมากขึ้น รูปที่วาดมักเป็นรูปคน บ้าน หรือต้นไม้ ยังไม่มีการจัดภาพ การใช้สีตามความพอใจไม่คำนึงถึงความเป็นจริง
-อายุประมาณ 6-7 ปี สามารถแสดงออกเป็นภาพได้ชัดเจน แต่มีความแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเด็ก
ลักษณะการวาดภาพของเด็กตามพัฒนาการในขั้นนี้ สังเกตได้จากส่วนประกอบในภาพดังนี้
การวาดภาพคน เด็กจะเขียนวงกลมแทนศีรษะ มีเส้นยาวแทนแขนและขา ยังไม่มีลำตัวในระยะต้น เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น จะแสดงออกเป็นลำตัว และมีรายละเอียดของใบหน้าเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นเพียงสัญลักษณ์ของส่วนนั้น
การใช้สี เด็กจะใช้สีตามอารมณ์ ยังไม่สามารถใช้สีอย่างถูกต้อง เด็กจะใช้สีที่สะดุดตา และความชอบส่วนตัวเป็นหลัก ไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นจริง แต่บางครั้งเด็กอาจใช้สีใดสีหนึ่งตรงกับความเป็นจริง เมื่อเด็กมีความประทับใจสีนั้น ๆ
การใช้พื้นที่ว่าง เด็กยังไม่เข้าใจว่าควรจะวาดภาพตรงส่วนใดจึงจะเหมาะสม ภาพวาดจึงขาดระเบียบ บริเวณพื้นที่ใดว่าง เด็กก็มักจะวาดสิ่งต่าง ๆ ลงในบริเวณนั้น โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ ซึ่งสิ่งที่เด็กวาดจะไม่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ว่างเลย
การออกแบบ เด็กยังไม่เข้าใจการออกแบบ จึงยังไม่มีการออกแบบ
คำอธิบายลักษณะพัฒนาการทางศิลปะในด้านการวาดภาพระบายสีขั้นที่สอง ของเด็กอายุ 4-7 ปี ตามหลักทฤษฎีของ วิคเตอร์ โลเวนเฟลด์
วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2554
คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรีในปีต่าง ๆ
ใน ปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้
ซึ่ง "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" คำขวัญวันเด็กในปีนี้จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย ซึ่งท่านนายกฯ ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับแนวคิดของคำขวัญนี้ว่า
รอบคอบ - เนื่องมาจากปัจจุบัน มีทางเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ มากมาย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เห็นว่า เยาวชนไทยต้องรู้รอบด้าน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนอาจทำสิ่งที่เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคมได้ในอนาคต
รู้คิด - เมื่อเยาวชนไทยเรียนรู้รอบด้านแล้ว ต้องรู้จักคิดใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ จึงอยากให้น้อง ๆ เด็ก ๆ รู้จักคิดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย
จิตสาธารณะ - สังคมต้องพึ่งพิงกัน เห็นได้ในยามมีภัยคนไทยเราช่วยกัน การปลูกฝังจิตสำนึกเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งในสังคม โดยต้องเริ่มที่เด็ก ๆ เยาวชนไทย
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรีในปีต่าง ๆ
ใน ปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้
ซึ่ง "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" คำขวัญวันเด็กในปีนี้จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย ซึ่งท่านนายกฯ ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับแนวคิดของคำขวัญนี้ว่า
รอบคอบ - เนื่องมาจากปัจจุบัน มีทางเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ มากมาย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เห็นว่า เยาวชนไทยต้องรู้รอบด้าน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนอาจทำสิ่งที่เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคมได้ในอนาคต
รู้คิด - เมื่อเยาวชนไทยเรียนรู้รอบด้านแล้ว ต้องรู้จักคิดใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ จึงอยากให้น้อง ๆ เด็ก ๆ รู้จักคิดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย
จิตสาธารณะ - สังคมต้องพึ่งพิงกัน เห็นได้ในยามมีภัยคนไทยเราช่วยกัน การปลูกฝังจิตสำนึกเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งในสังคม โดยต้องเริ่มที่เด็ก ๆ เยาวชนไทย
วันเด็กแห่งชาติ
ประวัติความเป็นมา
วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้
ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"
กิจกรรมวันเด็ก
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ
กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือ เขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย ดนตรี การพูด และตามด้วยกรเขียน การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับ บุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
สิ่ง ที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษา ให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
* พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด การฟัง ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
* พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
* พัฒนา ทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
* พัฒนา ทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิด มโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
- กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
- กิจกรรมเล่าเรื่อง
- กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
- กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
- กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
- กิจกรรมสนทนา
- กิจกรรมการเขียน
- กิจกรรมบอกชื่อ
- กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
- กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน
ผลของเด็กที่เกิดจากการดูทีวี
ผลการศึกษาในสหรัฐพบว่า หากให้เด็กอายุ 3 ขวบดูโทรทัศน์มากเท่าไรอาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นคนก้าวร้าวมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่แม้เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ดู
เจน นิเฟอร์ แมนกาเนลโล จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่อัลบานีร่วมกับคณะสาธารณสุขและเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยทูเลน ศึกษากับสตรี 3,128 คน ใน 20 เมืองที่มีลูกช่วงปี 2541-2543 ระดับการศึกษาหลากหลายแต่ 1 ใน 3 เรียนไม่จบระดับมัธยมศึกษา สตรี 2 ใน 3 เผยว่าให้ลูกวัย 3 ขวบดูโทรทัศน์วันละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 3 ชั่วโมง สตรีส่วนใหญ่เปิดโทรทัศน์วันละ 5 ชั่วโมง และเมื่อนำปัจจัยที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ความรุนแรง มีมารดาเป็นโรคซึมเศร้า มาคำนวณร่วมด้วยพบว่า การดูโทรทัศน์และจำนวนชั่วโมงที่เปิดโทรทัศน์มีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับ พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ชอบตีคนอื่น อารมณ์ร้าย ไม่เชื่อฟัง กรีดร้องบ่อย ๆ
คณะ นักวิจัยระบุว่า เด็กอาจเห็นภาพความรุนแรงจากโทรทัศน์ และการใช้เวลานั่งอยู่หน้าจอมากเท่าไรเท่ากับว่าเด็กมีเวลาทำกิจกรรมสร้าง สรรค์เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นน้อยลงเท่านั้น จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเกี่ยวกับเนื้อหาของรายการโทรทัศน์และสิ่งที่ เกิดขึ้นภายในบ้านในช่วงที่เปิดโทรทัศน์ พร้อมกับหยิบยกคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชอเมริกันไว้ในรายงานด้วยว่าไม่ ควรให้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์เลย ส่วนเด็กที่โตกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์เกินวันละ 2 ชั่วโมง
กิจกรรมพัฒนาการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาจากการฟังแล้วเลียนแบบเสียง เลียนแบบการใช้คำ ซึ่ง นำไปสู่การพูด การฟังเบื้องต้นของเด็กในโรงเรียนเป็นการฟัง คำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติและฟังเรื่องราวโดยเฉพาะนิทาน แล้วฝึกการถ่ายทอดด้วยการบอก การถาม การสนทนา และการเล่าเรื่อง ซึ่งการฟังนอกจากจะช่วยให้เด็กพัฒนาแล้วยังสร้างความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบ ตัวด้วยลักษณะของการฟังอาจเป็นการฟังจับเรื่อง การฟังอย่างซาบซึ่ง การฟังเพื่อการวิเคราะห์ หรือการฟังเพื่อรู้และเข้าใจ
การ ฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสมและนำไป สร้างเสริมพัฒนาการทางภาษามากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บคำพูด จังหวะ เรื่องราว จากสิ่งที่ฟังมาสานต่อเป็นคำศัพท์ เป็นประโยคที่จะถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ เด็กจะได้คำศัพท์และมีความสามารถมากขึ้น พัฒนาการด้านการฟังของเด็กตามวัยเป็นดังนี้
อายุ 2 ขวบ ชอบฟังคำพูดสั้นๆ จูงใจ ฟังเรื่องสั้นๆ และเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง
อายุ 3 ขวบ ชอบฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงสัตว์ ยานพาหนะ เครื่อง ใช้ในครัวเรือน ชอบฟังนิทาน ฟังได้นานและฟังอย่างตั้งใจ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ ทั้งคำถามและปฏิเสธ ชอบทดลองทำเสียงเหมือน เช่น เสียงรถยนต์ รถไฟ
อายุ 4 ขวบ ฟัง เรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง เช่น ถามคำถามหรือต่อเรื่องได้ วัยนี้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆได้ ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้
อายุ 5 ขวบ ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวได้ และเข้าใจ ถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
กิจกรรม การฟัง ที่ครูควรจัดได้แก่ การฟังนิทาน ฟังคำสั่ง ฟังการจำแนกเสียงลักษณะของการจัดกิจกรรมอาจนำไปสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้ อื่นๆหรือจัดแยกเป็นกิจกรรมอิสระก็ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)