วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พ่อแม่ควรให้คำแนะนำเด็กเล็กในการดูทีวี

พ่อแม่ควรให้คำแนะนำเด็กเล็กในการดูทีวี
 

โดย Thaiparents.com, 21 กันยายน 2552




สำนักข่าว Ivanhoe Broadcast News รายงานว่า จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเทมเปิ้ล และมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ นักวิจัยใช้ภาพเสียงตัวอย่างจากรายการ Sesame Beginning ซึ่งเป็นรายการสำหรับเด็กเล็กวัย 30 - 42 เดือน (2 ขวบครึ่ง - 3 ขวบครึ่ง) ที่ส่งเสริมการเรียนรู้คำกริยาต่างๆ (verbs) และการนำคำกริยามาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน นักวิจัยพบว่า หากพ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยขณะที่ลูกกำลังดูรายการเพื่อเรียนรู้คำกริยาต่างๆ นี้ เด็กวัยต่ำกว่า 3 ขวบไม่สามารถเรียนรู้ หรือทำความเข้าใจได้เองจากการดูรายการโดยตรง เพียงอย่างเดียว


แต่เมื่อลูกดูรายการสอนการใช้คำกริยาและมีพ่อแม่อยู่ด้วย ช่วยพูดและอธิบายให้ฟัง ลูกจะเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตรงข้ามกับแฟชั่นปัจจุบันที่นิยมให้ลูก ดูทีวีเพื่อการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเล็กอายุไม่ถึง 3 ขวบ


นักวิจัยยังพบอีกว่า เด็กอายุเกิน 3 ขวบขึ้นไป จะสามารถดูรายการได้และมีความเข้าใจคำกริยาโดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย


Kathy Hirsh-Pasek, Lefkowitz ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยเทมเปิ้ล และนักวิจัยร่วมทีมระบุว่า เด็ก เล็กนั้น ยังคงต้องการความช่วยเหลือด้านสังคมจากผู้ใหญ่ เช่นพ่อแม่ ซึ่งยังคงต้องให้การสนับสนุน ให้ความใกล้ชิดและพูดอธิบายสื่อสารแก่ลูกเพื่อช่วยให้เรียนรู้และทำความเข้า ใจคำกริยาจากรายการทีวีได้ดีขึ้น การให้ลูกวัยเล็กดูทีวีและทำความเข้าใจเอาเองนั้นไม่ใช่การเรียนรู้ แต่การที่นั่งดูรายการทีวีร่วมกับพ่อแม่นั้น จึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้สำหรับเด็ก



SOURCE: Child Development, September/October 2009
ที่มา: Ivanhoe Broadcast News
เรียบเรียงโดย: แม่อ้อม

เด็กติดเกม !!

เด็กติดเกม (game addiction)

       ข่าว เกี่ยวกับเกม เมื่อโผล่บนหน้าหนังสือพิมพ์ครั้งใด มักจะกลายเป็นข่าวช็อกสังคมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นน้องกอล์ฟ (12 ขวบ) ที่ติดเกมจนไม่ยอมกลับมานอนบ้าน หรือล่าสุดตระเวนเล่นเกมไปทั่ว (คงกลัวคุณแม่หาเจอ) กระทั่งหายแล้วหายลับไปเลย
กรณีของน้องณัน (10 ขวบ) ที่ติดเกมจนงอมแงม จนอยู่ไม่ติดบ้านและคุณแม่ก็หมดกำลังจะแก้ไข สุดท้ายจึงต้องงัดมาตรการโหด โดยจับลูกชายล่ามโซ่ (ยังดีที่เป็นแค่โซ่เส้นเล็กๆ) เพื่อกันไม่ให้ก้าวออกนอกบ้านไปเล่นเกม!...
ลักษณะ อย่างไรจึงเข้าข่ายเป็น "เด็กติด (คลั่ง) เกม"? เล่นเกมเกิน 3 ชั่วโมง ในแต่ละครั้ง  เล่นเกมจนไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน ไม่ยอมเรียน (มักชอบโดดเรียน) เล่นเกมจนผลการเรียนตกต่ำ เล่นเกมจนไม่มีเงิน หรือเล่นจนต้องขโมยเงินขโมยของ โกหกเพื่อที่จะได้เล่นเกม กระสับกระส่าย หงุดหงิดงุ่นง่าน หรือถึงขั้นอาละวาดหากไม่ได้เล่นเกม ดังนั้น...ก่อนจะสายเกินไป เราจึงควรแสวงหาวิธี "ป้องกันไว้ก่อน" ดังเช่นข้อแนะนำต่อไปนี้..
1. ชวนลูกคุยเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องเกม โดยอาจจะยกข่าวเกี่ยวกับภัยของเกม หรือให้ข้อมูลข้อเท็จจริง แล้วให้ลูกแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ (โดยเราอย่าจ้องแต่จะขัดคอ หรือตำหนิ) จากนั้นก็ร่วมกันหาข้อตกลง เช่น ควรเล่นเกมได้สัปดาห์ละกี่วัน? วันละกี่ชั่วโมง? รวมทั้งช่วยกันเลือกเกมที่สร้างสรรค์ และเหมาะสมกับวัยของลูก
2. ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในที่ๆ พ่อแม่สอดส่องถึง เช่น ห้องรับแขก หรือห้องโถง และไม่ควรไว้ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัวของลูก
3. ในหลายๆ กรณีของเด็กติดเกมนั้น เริ่มต้นจากการที่พ่อแม่ไม่เอาใจใส่มาตั้งแต่ต้น ด้วยอาจเห็นว่าเกมทำให้ลูกอยู่ติดบ้าน หรือลูกนั่งแต่หน้าคอมฯ ก็ดีจะได้ไม่ทำตัววุ่นวายรบกวนพ่อแม่  แต่ครั้นปล่อยไประยะหนึ่งจึงได้รู้ว่าลูกรักโดน "ภัย" จากเกมเล่นงานจนงอมแงมซะแล้ว! 
ดังนั้น จึงควรหากิจกรรมสร้างสรรค์ดีๆ มาทดแทน หรือลดเวลาในการเล่นเกมของลูก ยิ่งลูกอยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็น และมีพลังเหลือเฟือ ยิ่งควรคิดถึงในเรื่องนี้ให้มาก
วิดีโอเกม เกมคอมฯ เกมบอย เกมทั้งหลายไม่ได้มีแต่โทษ เลือกเกมดีก็มีประโยชน์
ทางการแพทย์ได้ทดลองเอาเกมมาลดอาการเจ็บปวดของเด็ก ปรากฏว่าได้ผลดีทีเดียว ได้มีการทดลองใช้ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งก็สามารถลดอาการอาเจียน ลดความกลัวลงได้เช่นเดียวกัน
ในทางตรงข้ามกับการเกิดอาร์เอสไอ เกมสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยหลังการบาดเจ็บที่มือและอยู่ระหว่างการฟื้นสภาพ ต้องการการออกกำลังกายนิ้ว มือและแขน ก็สามารถนำเอาการเล่นเกมต่างๆ มาใช้ในการออกกกำลังกายได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือถูกไฟไหม้ที่มือซึ่งจะเกิดการ ยึดติดของนิ้วได้ง่าย เช่นเดียวกับในเด็กที่มีความพิการของมือ อาจนำมาใช้ในการออกกำลังกายได้เช่นกัน
ของทุกอย่างก็แบบนี้  มีทั้งดีและโทษ ต้องเลือกใช้อย่างฉลาด อย่าตกเป็นเหยื่อวัตถุนิยม