วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2554

   คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


happyคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรีในปีต่าง ๆ

วันเด็ก

          ใน ปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้

          ซึ่ง "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" คำขวัญวันเด็กในปีนี้จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย ซึ่งท่านนายกฯ ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับแนวคิดของคำขวัญนี้ว่า

          รอบคอบ - เนื่องมาจากปัจจุบัน มีทางเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ มากมาย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เห็นว่า เยาวชนไทยต้องรู้รอบด้าน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนอาจทำสิ่งที่เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคมได้ในอนาคต

          รู้คิด - เมื่อเยาวชนไทยเรียนรู้รอบด้านแล้ว ต้องรู้จักคิดใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ จึงอยากให้น้อง ๆ เด็ก ๆ รู้จักคิดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย

          จิตสาธารณะ - สังคมต้องพึ่งพิงกัน เห็นได้ในยามมีภัยคนไทยเราช่วยกัน การปลูกฝังจิตสำนึกเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งในสังคม โดยต้องเริ่มที่เด็ก ๆ เยาวชนไทย

วันเด็กแห่งชาติ



 ประวัติความเป็นมา

         วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


วันเด็ก

         อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้

         ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

 วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ


         สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก

         นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"
 กิจกรรมวันเด็ก
         กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ

วันเด็ก

กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



     ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือ เขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรี  การพูด และตามด้วยกรเขียน  การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับ บุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
    สิ่ง ที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษา ให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
    * พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด  การฟัง  ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
    * พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
    * พัฒนา ทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
    * พัฒนา ทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิด มโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
     กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
     - กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
     - กิจกรรมเล่าเรื่อง
     - กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
     - กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
     - กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
     - กิจกรรมสนทนา
     - กิจกรรมการเขียน
     - กิจกรรมบอกชื่อ
     - กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
     - กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน

ผลของเด็กที่เกิดจากการดูทีวี




ผลการศึกษาในสหรัฐพบว่า หากให้เด็กอายุ 3 ขวบดูโทรทัศน์มากเท่าไรอาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นคนก้าวร้าวมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงนี้ยังคงอยู่แม้เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ดู
เจน นิเฟอร์ แมนกาเนลโล จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่อัลบานีร่วมกับคณะสาธารณสุขและเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยทูเลน ศึกษากับสตรี 3,128 คน ใน 20 เมืองที่มีลูกช่วงปี 2541-2543 ระดับการศึกษาหลากหลายแต่ 1 ใน 3 เรียนไม่จบระดับมัธยมศึกษา สตรี 2 ใน 3 เผยว่าให้ลูกวัย 3 ขวบดูโทรทัศน์วันละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 3 ชั่วโมง สตรีส่วนใหญ่เปิดโทรทัศน์วันละ 5 ชั่วโมง และเมื่อนำปัจจัยที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ความรุนแรง มีมารดาเป็นโรคซึมเศร้า มาคำนวณร่วมด้วยพบว่า การดูโทรทัศน์และจำนวนชั่วโมงที่เปิดโทรทัศน์มีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับ พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ชอบตีคนอื่น อารมณ์ร้าย ไม่เชื่อฟัง กรีดร้องบ่อย ๆ
คณะ นักวิจัยระบุว่า เด็กอาจเห็นภาพความรุนแรงจากโทรทัศน์ และการใช้เวลานั่งอยู่หน้าจอมากเท่าไรเท่ากับว่าเด็กมีเวลาทำกิจกรรมสร้าง สรรค์เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นน้อยลงเท่านั้น จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเกี่ยวกับเนื้อหาของรายการโทรทัศน์และสิ่งที่ เกิดขึ้นภายในบ้านในช่วงที่เปิดโทรทัศน์ พร้อมกับหยิบยกคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชอเมริกันไว้ในรายงานด้วยว่าไม่ ควรให้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์เลย ส่วนเด็กที่โตกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์เกินวันละ 2 ชั่วโมง

กิจกรรมพัฒนาการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาจากการฟังแล้วเลียนแบบเสียง  เลียนแบบการใช้คำ  ซึ่ง นำไปสู่การพูด การฟังเบื้องต้นของเด็กในโรงเรียนเป็นการฟัง คำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติและฟังเรื่องราวโดยเฉพาะนิทาน แล้วฝึกการถ่ายทอดด้วยการบอก การถาม การสนทนา และการเล่าเรื่อง ซึ่งการฟังนอกจากจะช่วยให้เด็กพัฒนาแล้วยังสร้างความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบ ตัวด้วยลักษณะของการฟังอาจเป็นการฟังจับเรื่อง  การฟังอย่างซาบซึ่ง การฟังเพื่อการวิเคราะห์ หรือการฟังเพื่อรู้และเข้าใจ
       การ ฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสมและนำไป สร้างเสริมพัฒนาการทางภาษามากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บคำพูด จังหวะ เรื่องราว จากสิ่งที่ฟังมาสานต่อเป็นคำศัพท์ เป็นประโยคที่จะถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ เด็กจะได้คำศัพท์และมีความสามารถมากขึ้น พัฒนาการด้านการฟังของเด็กตามวัยเป็นดังนี้
       อายุ 2 ขวบ ชอบฟังคำพูดสั้นๆ จูงใจ  ฟังเรื่องสั้นๆ และเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง
       อายุ 3 ขวบ ชอบฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงสัตว์  ยานพาหนะ  เครื่อง ใช้ในครัวเรือน ชอบฟังนิทาน ฟังได้นานและฟังอย่างตั้งใจ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ ทั้งคำถามและปฏิเสธ ชอบทดลองทำเสียงเหมือน เช่น เสียงรถยนต์  รถไฟ 
       อายุ 4 ขวบ  ฟัง เรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง เช่น ถามคำถามหรือต่อเรื่องได้ วัยนี้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆได้ ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้
       อายุ ขวบ  ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
       อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวได้ และเข้าใจ ถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
       กิจกรรม การฟัง ที่ครูควรจัดได้แก่ การฟังนิทาน ฟังคำสั่ง ฟังการจำแนกเสียงลักษณะของการจัดกิจกรรมอาจนำไปสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้ อื่นๆหรือจัดแยกเป็นกิจกรรมอิสระก็ได้