วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พ่อแม่ควรให้คำแนะนำเด็กเล็กในการดูทีวี

พ่อแม่ควรให้คำแนะนำเด็กเล็กในการดูทีวี
 

โดย Thaiparents.com, 21 กันยายน 2552




สำนักข่าว Ivanhoe Broadcast News รายงานว่า จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเทมเปิ้ล และมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ นักวิจัยใช้ภาพเสียงตัวอย่างจากรายการ Sesame Beginning ซึ่งเป็นรายการสำหรับเด็กเล็กวัย 30 - 42 เดือน (2 ขวบครึ่ง - 3 ขวบครึ่ง) ที่ส่งเสริมการเรียนรู้คำกริยาต่างๆ (verbs) และการนำคำกริยามาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน นักวิจัยพบว่า หากพ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยขณะที่ลูกกำลังดูรายการเพื่อเรียนรู้คำกริยาต่างๆ นี้ เด็กวัยต่ำกว่า 3 ขวบไม่สามารถเรียนรู้ หรือทำความเข้าใจได้เองจากการดูรายการโดยตรง เพียงอย่างเดียว


แต่เมื่อลูกดูรายการสอนการใช้คำกริยาและมีพ่อแม่อยู่ด้วย ช่วยพูดและอธิบายให้ฟัง ลูกจะเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตรงข้ามกับแฟชั่นปัจจุบันที่นิยมให้ลูก ดูทีวีเพื่อการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเล็กอายุไม่ถึง 3 ขวบ


นักวิจัยยังพบอีกว่า เด็กอายุเกิน 3 ขวบขึ้นไป จะสามารถดูรายการได้และมีความเข้าใจคำกริยาโดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย


Kathy Hirsh-Pasek, Lefkowitz ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยเทมเปิ้ล และนักวิจัยร่วมทีมระบุว่า เด็ก เล็กนั้น ยังคงต้องการความช่วยเหลือด้านสังคมจากผู้ใหญ่ เช่นพ่อแม่ ซึ่งยังคงต้องให้การสนับสนุน ให้ความใกล้ชิดและพูดอธิบายสื่อสารแก่ลูกเพื่อช่วยให้เรียนรู้และทำความเข้า ใจคำกริยาจากรายการทีวีได้ดีขึ้น การให้ลูกวัยเล็กดูทีวีและทำความเข้าใจเอาเองนั้นไม่ใช่การเรียนรู้ แต่การที่นั่งดูรายการทีวีร่วมกับพ่อแม่นั้น จึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้สำหรับเด็ก



SOURCE: Child Development, September/October 2009
ที่มา: Ivanhoe Broadcast News
เรียบเรียงโดย: แม่อ้อม

เด็กติดเกม !!

เด็กติดเกม (game addiction)

       ข่าว เกี่ยวกับเกม เมื่อโผล่บนหน้าหนังสือพิมพ์ครั้งใด มักจะกลายเป็นข่าวช็อกสังคมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นน้องกอล์ฟ (12 ขวบ) ที่ติดเกมจนไม่ยอมกลับมานอนบ้าน หรือล่าสุดตระเวนเล่นเกมไปทั่ว (คงกลัวคุณแม่หาเจอ) กระทั่งหายแล้วหายลับไปเลย
กรณีของน้องณัน (10 ขวบ) ที่ติดเกมจนงอมแงม จนอยู่ไม่ติดบ้านและคุณแม่ก็หมดกำลังจะแก้ไข สุดท้ายจึงต้องงัดมาตรการโหด โดยจับลูกชายล่ามโซ่ (ยังดีที่เป็นแค่โซ่เส้นเล็กๆ) เพื่อกันไม่ให้ก้าวออกนอกบ้านไปเล่นเกม!...
ลักษณะ อย่างไรจึงเข้าข่ายเป็น "เด็กติด (คลั่ง) เกม"? เล่นเกมเกิน 3 ชั่วโมง ในแต่ละครั้ง  เล่นเกมจนไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน ไม่ยอมเรียน (มักชอบโดดเรียน) เล่นเกมจนผลการเรียนตกต่ำ เล่นเกมจนไม่มีเงิน หรือเล่นจนต้องขโมยเงินขโมยของ โกหกเพื่อที่จะได้เล่นเกม กระสับกระส่าย หงุดหงิดงุ่นง่าน หรือถึงขั้นอาละวาดหากไม่ได้เล่นเกม ดังนั้น...ก่อนจะสายเกินไป เราจึงควรแสวงหาวิธี "ป้องกันไว้ก่อน" ดังเช่นข้อแนะนำต่อไปนี้..
1. ชวนลูกคุยเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องเกม โดยอาจจะยกข่าวเกี่ยวกับภัยของเกม หรือให้ข้อมูลข้อเท็จจริง แล้วให้ลูกแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ (โดยเราอย่าจ้องแต่จะขัดคอ หรือตำหนิ) จากนั้นก็ร่วมกันหาข้อตกลง เช่น ควรเล่นเกมได้สัปดาห์ละกี่วัน? วันละกี่ชั่วโมง? รวมทั้งช่วยกันเลือกเกมที่สร้างสรรค์ และเหมาะสมกับวัยของลูก
2. ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในที่ๆ พ่อแม่สอดส่องถึง เช่น ห้องรับแขก หรือห้องโถง และไม่ควรไว้ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัวของลูก
3. ในหลายๆ กรณีของเด็กติดเกมนั้น เริ่มต้นจากการที่พ่อแม่ไม่เอาใจใส่มาตั้งแต่ต้น ด้วยอาจเห็นว่าเกมทำให้ลูกอยู่ติดบ้าน หรือลูกนั่งแต่หน้าคอมฯ ก็ดีจะได้ไม่ทำตัววุ่นวายรบกวนพ่อแม่  แต่ครั้นปล่อยไประยะหนึ่งจึงได้รู้ว่าลูกรักโดน "ภัย" จากเกมเล่นงานจนงอมแงมซะแล้ว! 
ดังนั้น จึงควรหากิจกรรมสร้างสรรค์ดีๆ มาทดแทน หรือลดเวลาในการเล่นเกมของลูก ยิ่งลูกอยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็น และมีพลังเหลือเฟือ ยิ่งควรคิดถึงในเรื่องนี้ให้มาก
วิดีโอเกม เกมคอมฯ เกมบอย เกมทั้งหลายไม่ได้มีแต่โทษ เลือกเกมดีก็มีประโยชน์
ทางการแพทย์ได้ทดลองเอาเกมมาลดอาการเจ็บปวดของเด็ก ปรากฏว่าได้ผลดีทีเดียว ได้มีการทดลองใช้ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งก็สามารถลดอาการอาเจียน ลดความกลัวลงได้เช่นเดียวกัน
ในทางตรงข้ามกับการเกิดอาร์เอสไอ เกมสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยหลังการบาดเจ็บที่มือและอยู่ระหว่างการฟื้นสภาพ ต้องการการออกกำลังกายนิ้ว มือและแขน ก็สามารถนำเอาการเล่นเกมต่างๆ มาใช้ในการออกกกำลังกายได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือถูกไฟไหม้ที่มือซึ่งจะเกิดการ ยึดติดของนิ้วได้ง่าย เช่นเดียวกับในเด็กที่มีความพิการของมือ อาจนำมาใช้ในการออกกำลังกายได้เช่นกัน
ของทุกอย่างก็แบบนี้  มีทั้งดีและโทษ ต้องเลือกใช้อย่างฉลาด อย่าตกเป็นเหยื่อวัตถุนิยม 

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์ : สื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัย

ที่มา  :  บทความจากจุลสารเพื่อนอนุบาล แผนกอนุบาล
ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ;
อ้างอิงมาจาก  สื่อเพื่อพัฒนาเด็กไทยวัยเรียนรู้


 พี่ลูกพีช..
          เมื่อวงการศึกษาของเด็กปฐมวัย กำลังตื่นตัวในการจัดการศึกษา เพื่อรองรับโลกยุคข่าวสารไร้พรมแดน การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย จึงเป็นประเด็นที่พูดกันว่า มีความเหมาะสมอย่างไร เด็กมีความพร้อมทางด้านร่างกาย และสติปัญญาเพียงพอที่จะใช้คอมพิวเตอร์หรือยัง ดังนั้นเพื่อเป็น     ข้อมูลสำหรับพิจารณาว่า สื่อคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นสื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัยจริงหรือ เรามาศึกษาและเรียนรู้แนวความคิดที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กๆ ปฐมวัยกันค่ะ
การใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กปฐมวัย
         เด็กจะเรียนรู้กิจกรรมจาก คอมพิวเตอร์ในเรื่องเกี่ยวกับสัญลักษณ์ เพราะในชีวิตประจำวันเด็กก็ใช้สัญลักษณ์จากการสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษาในการเล่น และงานศิลปะอยู่แล้ว จึงเห็นว่า เด็กก่อนวัยเรียนควรได้รับประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ด้วย แต่ยังมีผู้วิตกว่า แนวคิดนี้เป็นการเร่งรัดเด็กหรือไม่ คำตอบประการหนึ่งคือ การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นอันตรายเลย แต่เราก็ควรใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับเด็กตามระดับความสามารถของเขาเป็น สำคัญ
การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์
         ถ้า เด็กเล่นคอมพิวเตอร์ด้วยความรู้สึกสบายใจ มีความเชื่อมั่น และสนุกกับการเล่นแล้ว เด็กจะพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการมี      ผู้ใหญ่คอยดูแล สนับสนุน ให้กำลังใจ และรู้จักเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมให้เด็ก
         นอกจากนี้ การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ควรให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นกิจกรรมได้อย่างเสรี โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นมุมหนึ่งของห้องเรียนเช่นเดียวกับมุมไม้บล็อก มุมหนังสือ มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมบทบาทสมมติ ฯลฯ จะเอื้อประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ได้ดีกว่าการจัดให้เด็กแยกไปเรียนต่างหาก การจัดมุมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาการทางสังคม เพราะเด็กอาจจะนั่งหน้าจอด้วยกัน พูดคุย ช่วยกันแก้ปัญหา ร่วมกันตัดสินใจ ลองผิดลองถูก อีกทั้งเป็นการพัฒนาสติปัญญาและภาษาได้อย่างดี
การพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ
         จาก การวิจัยพบว่า เด็กอายุ 4 ขวบ สามารถช่วยอธิบายวิธีการแก้ปัญหาให้เพื่อนได้ และสามารถสาธิตให้เพื่อนดูได้ถูกต้อง และจากการสังเกตพบว่า เด็กได้เลียนแบบวิธีการสอนของครูมาช่วยเหลือเพื่อน ดังนั้นครูควรต้องระวังบทบาทขณะสอนเด็กๆ ให้เหมาะสมด้วย
         คอมพิวเตอร์จะช่วยพัฒนาเด็กได้ มากในเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสารและการเรียนรู้ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นครูอาจช่วยกระตุ้นการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้เด็กนั่งเป็นคู่หน้าเครื่อง และชักจูงให้ช่วยกันคิดในการทำงาน โดยไม่ใช่แข่งขันกัน
การพัฒนาด้านทักษะภาษา
         ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการฝึกการ ท่องจำสำหรับเด็กปฐมวัย จะช่วยเตรียมทักษะการอ่าน เพราะทำให้เด็กจำแนกตัวอักษร จำตัวอักษร และเรียกได้ถูกต้อง ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โปรแกรมสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นได้มีการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ควรให้เด็กได้รับการฝึกแต่ความจำเท่านั้น ผู้ใหญ่ควรเลือกโปรแกรมที่ใช้การสื่อสารสองทางได้ คือ คอมพิวเตอร์พูดได้ สามารถตอบสนองเด็กได้ ร้องเพลงได้ จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
         นอกจากจะมีคอมพิวเตอร์ที่ช่วย เตรียมทักษะด้านการอ่านแล้ว ยังมีโปรแกรมที่ช่วยในเรื่องภาษาเขียนของเด็กด้วย ซึ่งโดยปกติภาษาเขียนเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ไม่จูงใจในการสื่อสารสำหรับเด็ก แต่ในปัจจุบันนี้มีโปรแกรม Word Processor ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้การสื่อสารสองทาง เด็กจึงเรียนรู้ที่จะแก้ไขได้ด้วยตนเอง ภาษาเขียนของเด็กจึงได้พัฒนาตั้งแต่เริ่มรู้วิธีเขียนที่ถูกต้อง จนถึงขั้น      สื่อสารได้ จึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการเขียน ลดปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อนิ้วมือยังไม่แข็งแรง และลดความกังวลใจว่าจะเขียนผิด ถ้าครู คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองให้การสนับสนุนและดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
การพัฒนาด้านคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหา
         เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ทักษะ คณิตศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับการจำแนกแยกแยะสี รูปทรง ตัวเลข ตลอดจนรู้จักการเรียงลำดับ มิติสัมพันธ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกระตุ้นได้ดี
         โปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ปฐมวัย ไม่ใช่เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับความจำที่เน้นถูก–ผิด เป็นหลักเท่านั้น แต่ควรเป็นโปรแกรมที่ท้าทายในการแก้ปัญหา โดยให้เด็กสามารถสร้างทางเลือก ตัดสินใจ ที่จะหาวิธีในการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความคิด บทบาทของครูสำหรับเด็ก คือ ครูจะต้องกระตือรือร้นที่จะสนุบสนุนป้อนคำถาม กระตุ้น และสาธิตให้เด็กเกิดความคิด

ข้อควรคำนึงในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับเด็กปฐมวัย
         1) โปรแกรมจะต้องเหมาะสมสำหรับเด็ก การนำโปรแกรมที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาใช้กับเด็ก เพื่อให้เป็นเด็กอัศจรรย์ (Super Kid) เป็นการสร้างควากดดันให้กับเด็กมากกว่าจะเป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
         2) ควบคุมเวลาในการใช้ เพราะเด็กอาจจะเพลิดเพลิน และถ้าเด็กอยู่ใกล้เกินไปจะเสียสายตา จนถึงขั้นตาเสื่อมได้
         3) ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรใช้จอของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงจะดีกว่าการเล่นกับจอทีวี เพราะจอคอมพิวเตอร์เป็นจอที่ละเอียดกว่า และมีการกรองแสงด้วย ซึ่งช่วยถนอมสายตาเด็กได้
         4) ควรสอนเด็กให้รู้จักวิธีการเปิด–ปิดเครื่องและวิธีการใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย และรู้จักการถนอมเครื่องด้วย
         การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ไม่ใช่ เรื่องยาก แต่จะนำมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ประเด็นสำคัญอยู่ที่คุณครู คุณพ่อคุณแม่  ผู้ปกครอง ต้องมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาอย่างรอบคอบ มีความพร้อมทั้งในแง่ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการสอน และผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก และควรตระหนักว่า คอมพิวเตอร์เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ไม่ใช่เร่งรัดให้เด็กประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจนเกินวัย และไม่ควรนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพียงเพื่อเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพราะจะทำให้เด็กในวัยเรียนสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นกับพัฒนาการเด็กไทย

ของเล่นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเล่น ๆ “ของ เล่น” นับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างทักษะและพัฒนาร่างกาย สมองส่วนต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก ๆ
นอกจากการ เล่นของเล่นจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีเบิกบานแล้ว การเล่นของเล่นยังช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ และฝึกทักษะในการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กใน ช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่นกับผู้คนหรือของเล่น ถือเป็นรากฐานที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อ ๆ มา

เด็กที่ขาดโอกาสในการเล่นหรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเล่นย่อมมีโอกาสที่จะประสบปัญหาในการเรียนรู้และมีพัฒนาการล่าช้าได้

ศ.พญ.คุณ หญิงเพ็ญศรี พิชัยสนิธ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่า “การเล่นของเด็กเปรียบเหมือนการทำงานของผู้ใหญ่ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองจะมีส่วนสำคัญ การเล่นของเล่นที่เหมาะสมช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี พัฒนาการสมองแต่ละช่วงวัยสามารถเสริมได้ด้วยของเล่นเด็ก”

ของเล่นที่ เหมาะสมสำหรับเด็กตามวัย โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ มักเริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรืออยู่ใกล้ตัวเด็กก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นของที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ต่อมาจึงเป็นของเล่นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นมาลักษณะพัฒนาการหรือความสามารถ ของเด็กที่พัฒนาขึ้น

การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียน รู้ตามศักยภาพของเด็กนับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ขณะเดียวกันการเล่นเป็นเพื่อนกับเด็กในบางขณะก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไป กว่ากัน

นอกจากความอบอุ่นที่เด็ก ๆ จะได้รับแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองยังสามารถให้คำแนะนำวิธีเล่นที่ถูกต้อง และปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ ได้ อีกด้วย

แม้ว่าของเล่นจะมีความสำคัญกับเด็ก แต่ก็ยังมีพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นความสำคัญของการเล่นของเล่นของเด็ก ๆ

ศ.เกีย รติคุณชนิกา ตู้จินดา ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช กล่าวว่า “เราสามารถแบ่งกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองได้เป็นสองกลุ่ม ในกลุ่มพ่อแม่ที่เห็นความสำคัญของการเล่น ของเล่นที่ซื้อให้ลูกก็จะช่วยสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก แต่ในกลุ่มพ่อแม่ที่เห็นของเล่นเป็นเพียงเรื่องเล่น ๆ ของเล่นที่ซื้อให้ลูกก็จะเป็นของเล่นที่ไม่มีคุณภาพ”

จากการศึกษา วิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย : ปัจจัยคัดสรรด้านครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งทำการวิจัยโดย พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ และคณะ เมื่อปี พ.ศ. 2547 พบว่าของเล่นสำหรับเด็กอายุ 1-3 ขวบ ที่มีอยู่ในบ้าน ส่วนใหญ่เป็นของเล่นที่เน้นการพัฒนาทางด้านร่างกายมากกว่าของเล่นที่เน้นการ พัฒนาสมอง

ของเล่นที่พบว่ามีอยู่ในบ้านมากที่สุดได้แก่ ของเล่นที่ใช้ออกกำลังแขนขาซึ่งมีมากถึง 86.9% รองลงมาได้แก่ของเล่นฝึกนิ้วมือซึ่งมีมากถึง 71.2%

และจากการศึกษา วิจัยดังกล่าว พบว่าของเล่นสำหรับเด็กอายุ 3-6 ขวบที่มีอยู่ในบ้านมากที่สุดก็ยังคงเป็นของที่ฝึกการเคลื่อนไหวแขนขาซึ่งมี มากถึง 90% รองลงมาได้แก่ของที่ใช้ขีดเขียนซึ่งมีมากถึง 84.4%

ถึง เวลาแล้วหรือยังที่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลายจะหันมาให้ความสนใจกับการเล่นและ ของเล่นสำหรับเด็ก เพราะการเล่นและของเล่นมีความหมายและความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตเด็กเป็น อย่างมาก

การส่งเสริมให้เด็กได้เล่น และสนับสนุนของเล่นที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความถนัดของเด็ก จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ และช่วยสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กในด้านต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน.
แหล่งที่มา: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
http://www.worldpluss.com/faqboard.php?id=11

ของเล่นและการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

         การเล่นกับเด็กเป็นสิ่งที่คู่กัน มีผู้ให้คำจำกัดความของการเล่นว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานแก่เด็ก และยังทำให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์และความรู้ให้แก่เด็ก โดยประสบการณ์ที่เด็กได้จากการเล่นจะนำไปสู่การรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและผู้อื่นได้อย่างมีความ สุข     ดังนั้นการเล่นจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ของเด็ก   เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเมื่อเด็กเติบโตขึ้น



แนวคิดเกี่ยวกับการเล่น
1. การเล่นเป็นโลกส่วนตัวของเด็ก และทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
2. การเล่นช่วยส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา
3. การเล่น เป็นความต้องการของเด็ก ทั้งการเล่นที่ต้องใช้พละกำลังและชนิดเล่นเงียบๆ     เด็ก ต้องการเล่นทั้งแบบธรรมชาติ และตามที่ผู้ใหญ่จัดเตรียมไว้ให้ เด็กต้องการเล่นทั้งในร่มและกลางแจ้ง ต้องการเล่นทั้งตามลำพังและเล่นกับเพื่อน
4. ผู้ใหญ่สามารถส่งเสริมประสบการณ์การเล่นให้แก่เด็กได้


ลักษณะการเล่นของเด็ก
1.การ เล่นของเด็กไม่มีแบบแผน เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่รูปแบบของการเล่นจะพัฒนาตามลักษณะของพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย   โดย มักพบว่าในระยะแรก การเล่นของเด็กจะเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัส ต่อมาเมื่อสติปัญญาของเด็กพัฒนา การเล่นจะมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเป็นการเล่นที่ใช้ความสามารถของทักษะในหลาย ๆ แบบร่วมกัน และเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนเด็กจะมีการเล่นร่วมกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้น
2. มีการศึกษาพบว่าเด็กอายุ 3 ขวบ จะสนใจเฉพาะกิจกรรมที่ตนเองได้กระทำ แต่พออายุ 5 ขวบ จะสนใจผลงานที่ตนเองทำออกมา
3. การ เล่นแบบสร้างจินตนาการจะมีมากที่สุดในเด็กอายุระหว่าง 5-8 ขวบ ส่วนการเล่นสมมติของเด็ก 4 ขวบ จะเล่นสมมุติเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสัตว์ และสมาชิกในครอบครัว
4. เด็ก มักจะชอบเล่นชนิดที่ใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว เพราะเด็กมักชอบทดสอบพละกำลังกล้ามเนื้อของตน เช่น การกระโดดขาเดียว การเคลื่อนไหวบนท่อนไม้หรือตามขอบบ่อทราย
5. การเล่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเด็ก คือการก่อสร้าง เด็กจะเริ่มรู้จักเก็บและสะสมสิ่งของเพื่อนำมาก่อสร้างหรือประดิษฐ์
6. ความ สนใจในการเล่น ถ้าเป็นของเล่นที่เด็กส่วนใหญ่ชอบมากๆ จะมีระยะเวลาในการเล่นนานแตกต่างกันดังนี้ เด็ก 2 ขวบ นาน 7 นาที เด็ก 3 ขวบนาน 8.9 นาที เด็ก 4 ขวบ นาน 12.3 นาที และเด็ก 5 ขวบ นาน 13.6 นาที
7. การเล่นของเด็กและเวลาที่ใช้ในการเล่นจะลดลงเมื่อเด็กมีอายุเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีหน้าที่ใหม่ๆ ให้เด็กทำมากขึ้น

พฤติกรรมการเล่นของเด็ก
1. การเล่นเลียนแบบ (Imitation) การเล่นเลียนแบบเป็นการสะท้อนให้ผู้อื่นเห็นและทราบถึงการรับรู้สิ่งแวดล้อม ต่างๆ ของเด็กการเล่นเลียนแบบช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว โดยรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส แต่ยังไม่อาจจะเข้าใจหรือความรู้ความหมายได้ในทันที   ในการเล่นเลียนแบบเด็กมักจะเล่นเลียนแบบคนที่ตนคุ้นเคย และเห็นว่าสำคัญ สถานการณ์หรือสิ่งที่เด็กนำมาเล่นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน
2. การสำรวจ(Exploration) เป็นคุณสมบัติประจำวัยของเด็กระยะ 3-6 ปี รากฐานของการเล่นแบบสำรวจ คือมีความสนใจ สงสัย และกระตือรือร้นใคร่รู้ในสิ่งที่อยู่รอบตัว ในการเล่นสำรวจนี้เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ มากกว่าการสัมผัสจับต้องหรือดูเฉยๆ เด็กอาจจับของเล่นกลิ้งไปมา ลองดม หรือฟังว่ามีเสียงมากจากส่วนไหนของเครื่องเล่น และ ค้นหาที่มาของเสียง ด้วยการถอดออกมาดู การเล่นสำรวจนี้จะเป็นพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การค้นพบและการแก้ไขปัญหาใน สถานการณ์ที่เด็กไม่เคยเรียนรู้และมีประสบการณ์มาก่อน
3. การทดสอบ (Testing) เด็กจะอาศัยความรู้ใหม่ที่ได้จากการสำรวจและความรู้จากประสบการณ์ที่คุ้นเคย เป็นพื้นฐาน สิ่งที่เด็กได้สำรวจศึกษาแล้วจะเป็นอุปกรณ์ที่เด็กนำมาเล่นเพื่อทดสอบดูว่า คุณสมบัติของเครื่องเล่นและวิธีการเล่นที่วางไว้จะเป็นไปตามที่เขาคิดหรือ ไม่ อย่างไร และรู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีความสนใจและพยายามทำให้สำเร็จ คุณค่าของการเล่นทดสอบที่เห็นได้เด่นชัดก็คือส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียน รู้ คิดอย่างมีเหตุผล เหตุและผลจะได้จากการสรุปความสามารถที่เกิดขึ้นจากการทดสอบ และผู้เล่นมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและเป็นการช่วยตนเองด้วย
4. การสร้าง (Construction)  เป็นการเล่นที่ผู้เล่นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับ       สิ่ง แวดล้อมในลักษณะต่างๆ โดยเด็กจะนำเอาประสบการณ์ต่างๆของตนเข้ามารวมกัน การเล่นชนิดนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กในการรวบรวมอารมณ์ ความคิด และเหตุผลให้สัมพันธ์กันขึ้นใหม่เพื่อก่อให้เกิดความคิดจินตนาการอย่างสร้าง สรรค์(Creative Imagination) และเพื่อให้เป้าหมายของการกระทำประสบความสำเร็จ

ประโยชน์ของการเล่น
การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งทำให้เด็กพัฒนาความสามารถด้าน  ต่าง ๆ ของชีวิต อันได้แก่
1.   ด้านร่างกาย การเล่นเป็นการออกกำลังกายแบบหนึ่ง ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนากล้ามเนื้อ เนื่องจากขณะเล่นเด็กมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้เกิดการพัฒนาความสามารถด้านการเคลื่อนไหวและการเจริญเติบโตของร่างกาย ได้อย่างเต็มที่
2.   ด้านจิตใจและอารมณ์ การเล่นทำให้เด็กเกิดจินตนาการ รู้จักคิดและแก้ปัญหา เกิดความคิดสร้างสรรค์  เด็กเกิดความสนุกสนาน ทำให้เกิดการผ่อนคลาย  และจะช่วยปรับอารมณ์เมื่อเด็กต้องพบกับสถานการณ์ต่าง ๆ จากการเล่น  อีกทั้งทำให้เด็กเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้น
3.   ด้านสังคม  การ เล่นกับผู้อื่น จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ผู้คนรอบข้าง รู้จักเหตุและผล ฝึกความอดทน การรอคอย รู้จักการแบ่งปัน รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคม
4.   ด้านภาษา เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่น ความสามารถด้านภาษาจะถูกพัฒนา เพื่อให้เด็กสามารถสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้
5.   ด้านการเรียนรู้ ของเล่นและการเล่นแต่ละแบบจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในทักษะที่แตกต่างกัน ไป ของเล่นบางอย่างฝึกความสามารถด้านการเคลื่อนไหว  ใน ทางกลับกันบางอย่างอาจฝึกในเรื่องของภาษา ดังนั้นเมื่อเด็กได้เรียนรู้กิจกรรมใหม่ ๆ ความสามารถด้านต่าง ๆ ของชีวิตก็จะถูกพัฒนาเพิ่มขึ้น และจะถ่ายทอดเป็นประสบการณ์ต่อไปในอนาคต

ลักษณะการเล่นที่เป็นส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
1.   จัดสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ของเล่นและเวลาในการเล่นให้กับเด็ก ได้เล่นอย่างอิสระเสรีตามความคิดและจินตนาการของเด็ก
2.   จัดเวลาให้เด็กได้เล่นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พร้อมและที่ส่งเสริมการเล่นอย่างเหมาะสม
3.   ในการจัดหาอุปกรณ์ จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุดและมีความ     เหมาะสมกับอายุของผู้เล่น
4.   ควร ส่งเสริมการเล่นให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็ก เพราะการเล่นที่เกิดจากความสมัครใจ จะทำให้เด็กได้แสดงออกของความสามารถได้อย่างเต็มที่
5.   การเล่นที่เหมาะสมควรมีความสอดคล้องตามลำดับขั้นของพัฒนาการทางการเล่นของเด็ก
6.   ผู้ ปกครองควรปล่อยให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในขณะเล่น ควรให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการเท่านั้นและควรสังเกตอยู่ห่างๆ
7.   ควรให้ความสนใจกระตือรือร้นซักถาม และมีส่วนร่วมแสดงความยินดีกับเด็กเมื่อเด็กต้องการ
8.   ไม่จำเป็นต้องจัดหาของเล่นให้มากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเลือกไม่ถูกว่าจะเล่นอะไรทำให้เกิดความสับสน
9.   เมื่อ เด็กมีความสามารถในการเล่นมากขึ้น ควรจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์การเล่นที่ส่งเสริมการเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เบื่อ เกิดความท้าทาย ทำให้การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ในการเล่นเพิ่มมากขึ้น
10. กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กรู้จักจัดแสวงหาและสืบค้นด้วยตนเอง รวมทั้งให้เด็กรู้จัก แก้ปัญหาในสถานการณ์การเล่นแบบต่าง ๆ
11. ในขณะเล่นควรให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความรู้สึก ซึ่งจะสังเกตได้จากสีหน้าและ    แววตา เพราะการเล่นจะช่วยให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์
12. ไม่ควรคาดหวังในการเล่นของเด็กว่าจะต้องบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
13. ในเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กเล่นของเล่นหรือการเล่นที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์มากขึ้น
14. ในเด็กเจ็บป่วย ควรเลือกของเล่นที่เหมาะกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถในการเล่นของเด็กในขณะนั้น

ของเล่นสำหรับเด็ก  มีลักษณะดังนี้
1.      ของเล่นเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นของเด็ก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการ
2.      ของเล่นเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ในชีวิต
3.      ของเล่นที่เหมาะสมจะส่งเสริมความสามารถและทักษะทางการเคลื่อนไหวที่ดี

หลักในการเลือกของเล่นที่ดี
1.      เลือกของเล่นให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก โดยมีหลักการดังนี้
             1.1 ผู้ปกครองต้องเข้าใจพฤติกรรมการเล่นของเด็กตามช่วงอายุ
             1.2 ผู้ปกครองต้องรู้ความสามารถของเด็ก
             1.3 เลือกของเล่นให้ความเหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก
             1.4 เลือกของเล่นให้มีความยากง่ายเหมาะกับพัฒนาการการเล่นของเด็กในแต่ละช่วง อายุ           ยกตัวอย่าง ของเล่นที่ง่ายเกินไป จะทำให้เด็กเบื่อ ไม่อยากเล่น ไม่ให้ความสนใจ  ของเล่นที่ยากเกินไป จะบั่นทอนความสนใจ ทำให้เด็กรู้สึกท้อถอย
 
2.      คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ โดย
          2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้ของเล่น
          2.2 เลือกของเล่นให้สัมพันธ์กับพัฒนาการและวัตถุประสงค์ที่ใช้
          2.3 สามารถกระตุ้นความสนใจและทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
          2.4 สามารถใช้ในกิจกรรมการเล่นได้หลายรูปแบบ
          2.5 สามารถเล่นได้หลาย ๆ คน เพื่อทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ในการเล่นกับผู้อื่น
          2.6 สามารถนำมาเล่นได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม
 
3.      คำนึงถึงส่วนประกอบและวัสดุที่ใช้
          3.1 ของเล่นที่ดีต้องมีความสะอาด ปลอดภัย ไม่มีพิษและอันตรายกับเด็ก
          3.2 มีความแน่นหนา ไม่หลุดหรือแตกหักง่าย
          3.3 ไม่แหลมคม มีความปลอดภัยในการเล่น
          3.4 มีขนาดเล็กและเบาเหมาะกับเด็ก ซึ่งทำให้เด็กเล่นได้เองโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือ
          3.5 มีสีสันสดใส เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก แต่ไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก

ของเล่นสำหรับเด็กช่วงวัยต่าง ๆ
ช่วงอายุแรกเกิด -  6 เดือน
-  เด็กเริ่มพัฒนาระบบประสาทสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใส    แกว่งไกว มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง จะช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟัง
-  ของเล่นของเด็กวัยนี้ : ของเล่นที่มีสีสดใส และมีเสียง
ช่วงอายุ 6 เดือน – 1 ขวบ
-  เด็ก วัยนี้เริ่มมีวัตถุประสงค์และทิศทางในการหยิบของเล่น พัฒนาการด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือพัฒนาขึ้น เด็กรู้จักการสังเกต  เริ่มแยกสีและรูปร่างได้  สังเกตความลึกของสิ่งของ เช่น กล่องหรือแก้วได้  ส่งของเล่นจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้   เด็กสามารถทรงตัวนั่งได้มั่นคง และมีการสำรวจสิ่งแวดล้อมโดยการคืบหรือคลาน
-  ของเล่นของเด็กวัยนี้ : ของเล่นที่มีสีสัน มีเสียง ขนาดเหมาะกับมือ และของเล่นที่เคลื่อนไหวได้
ช่วงอายุ 1 ปี – 2 ปี
- เด็ก เริ่มเดินได้ด้วยตนเอง โดยช่วงแรก ๆ ยังไม่มั่นคงนัก ชอบเกาะเครื่องเรือน เดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง กล้ามเนื้อในการทรงตัว แขนขา มีการพัฒนามากขึ้น เมื่อเดินได้เองจะเริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อม ปีนป่าย ขึ้นบันได ต้องระมัดระวังความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด
-  ของเล่นสำหรับวัยนี้ : ของเล่นที่ลากจูงไปมาได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อ
ช่วงอายุ 2- 4 ปี
-  เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น  กล้ามเนื้อในมือมีความแข็งแรงมากขึ้น  ชอบการเล่นที่มีการออกกำลัง เช่น การวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย เตะลูกบอล
-  ของเล่นสำหรับวัยนี้ : ของเล่นที่ใช้นิ้วมือหยิบจับ ของเล่นที่หมุนได้ ภาพตัดต่อ  blockไม้ ลูกบอล
ช่วงอายุ 4 – 6 ปี
-  การ เคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้น ชอบเล่นกลางแจ้ง สนามเด็กเล่น และเครื่องเล่นที่ขับขี่ได้ ชอบเล่นเป็นกลุ่มชอบเลียนแบบชีวิตในบ้าน และสังคม สิ่งแวดล้อม
-  การเล่นของเด็กวัยนี้ : เน้นการเล่นเป็นกลุ่ม และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างของเล่นและการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ
1.  พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ได้แก่ จักรยานสองล้อ ลูกบอล ชิงช้า การว่ายน้ำ การห้อยโหน การปีนป่าย เป็นต้น
2.   พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น    การต่อบล๊อคไม้ เป็นต้น
3.   พัฒนาการทางภาษา ได้แก่ นิทาน สมุดภาพ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น
4.   พัฒนาการทางสติปัญญา ได้แก่ ดนตรี การทายปัญหา เกมต่างๆ สมุดภาพ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น
5.พัฒนาการทางสังคม ได้แก่ ของเล่นที่ใช้เล่นกับเพื่อนหลายคนได้ เช่น ฟุตบอล จักรยานสองล้อ สนามเด็กเล่น เป็นต้น




http://www.academic.hcu.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=297&UID=
อาจารย์วีรยา   วงษาพรหม
กลุ่มวิชากายภาพบำบัดทางระบบประสาทและพัฒนาการบกพร่องในเด็ก

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย    
                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำ อย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดย รู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป




         เด็กอายุ 0 - 1 ป
               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ลูกด้วย
               เด็กอายุ 2 - 3 ป
              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควร เป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
                                                เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก


    หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า
              วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก
     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับ วัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง


ที่มา  : http://www.sk-hospital.com/~ob/parent_school/nitan.htm

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นิทาน...เรื่อง สุนัขจิ้งจอกกับนกกระสา

สุนัขจิ้งจอกกับนกกระสา






        ครั้งหนึ่งมีนกกระสาที่เต้นรำเก่งมาก อยู่ตัวหนึ่ง นกกระสาตัวนี้จะออกมาเต้นรำให้ พวกสัตว์ป่าดูอยู่ด้วยความเพลิดเพลินอยู่ที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่งในทุก ๆ วัน มันมีความ ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่พวกสัตว์ป่าทั้งหลายได้ยกย่องให้มันว่าเป็นที่หนึ่งแห่งการเริงระบำ ของมวลสัตว์ต่าง ๆ และวันนี้ก็เช่นกันมันได้ออกมาเริงระบำอย่างที่เป็นมาตามปกติ แต่ คราวนี้หรือวันนี้...ได้เกิดมีความไม่เป็นปกติ เกิดขึ้นมาเข้าอย่างหนึ่ง คือได้มีสุนัขจิ้งจอกขี้อิจฉา ตัวหนึ่งได้ออกมาเลียนแบบ เต้นรำคู่ไปกับมันด้วยอยู่ข้าง ๆ เจ้าสุนัขจิ้งจอกตัวนี้น่ะหรือ... มันเพียงแต่แค่นึกอิจฉานกกระสามากเป็นที่สุดเท่านั้นเอง...จึงได้ออกมาร่าย รำอวดสัตว์ป่าต่าง ๆบ้าง เพราะอยากที่จะได้คำชมบ้างเท่านั้นเอง แต่พวกสัตว์ป่าต่าง ๆ สิ ให้เป็นหวาดกลัวไปตาม ๆกัน เลยทีเดียว ' เจ้าสุนัขจิ้งจอกมันต้องหวังทำให้พวกเราเพลิดเพลินจนลืมตัว แล้วจับกินตอนนั้น อย่างแน่นอนเลย... ' พวกสัตว์ป่าทุกตัวเลยพากันวิ่งหนี วงแตกกระจายไปหมด







        และเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นเข้า เจ้าสุนัขจิ้งจอกมันให้เป็นแค้นเคืองใจนกกระสาเป็นอย่างมาก 'โอ้ย เจ็บใจจังข้าจะเต้นรำเก่งน้อยไปกว่านกกระสาตัวนั้น จนพวกสัตว์ป่าต่าง ๆไม่อยากมองจนวิ่งหนีกัน ไปหมดอย่างนั้นได้ทีเดียวหรือนี่....ฮึ หมั่นใส่เจ้านกกระสาเสียจริง ๆ อย่างนี้ต้องแกล้งให้มันเจ็บใจเล่นบ้าง เห็นจะดี เหอ ๆๆๆ ' และเมื่อคิดได้ดังนั้น มันจึงทำเป็นไปผูกมิตรทำเป็นใจดี ชวนนกกระสามากินอาหาร ที่บ้านของมัน เจ้าสุนัขจิ้งจอกเอ่ยปากชวนนกกระสาว่า ' เราอยากจะเชิญท่านไปกินอาหารที่บ้าน ของเราสักหน่อย' 'ขอบใจมาก' นกกระสาจึงตอบรับ ' เรายินดีที่จะไป'







        แต่เมื่อนกกระสามาถึงบ้านของเจ้าสุนัขจิ้งจอกแล้วนั้น มันได้พบว่าสุนัขจิ้งจอกได้ จัดอาหารที่จะเลี้ยงไว้ในจานแบน ๆ 2 จาน นกกระสาไม่สามารถที่จะกินอาหารในจาน นั้นได้ เพราะจะงอยปากของมันยาวนั่นเอง มันให้เป็นหนักใจเป็นอย่างมากกับอาหารใน จานแบน ๆ นั้น แต่มันก็พยามยามที่จะกินเพื่อไม่อยากให้เสียมารยาท โดยใช้จะงอยปาก ของมันจิกลงไปในจานนั้น จนน้ำซุปที่อยู่ในจานกระฉอกออกมาจนเลอะเทอะไปหมด แต่เจ้าสุนัขจิ้งจอก สิ..มันแอบมองแล้วสะแหยะยิ้มออกมาด้วยความสะใจเป็นอย่างมากที่สามารถแกล้งนก กระสาได้อย่างนั้น







         เจ้าสุนัขจิ้งจอกแกล้งเฉยทำหน้าตาย กินอาหารในจานของมันอย่างสะดวกสบายและเอร็ดอร่อย ซ้ำยังกล่าวกับนกกระสาให้เจ็บใจเล่นอีกด้วยว่า ' อ้าว..ท่านไม่ชอบอาหารในจานของท่านหรอกหรือ? ถึงได้กินอย่างเสียมารยาทจนสกปรกเลอะเทอะแบบนั้น ถ้าอย่างนั้นล่ะก้อ เราจะช่วยกินแทนให้ท่านเอง แล้วกัน..โห ๆๆๆ ' ดังนั้น เจ้าสุนัขจิ้งจอกจึงกินอาหารในจานของมันและรวมทั้งที่อยู่ในจานของนกกระสา เสียจนหมดอีกด้วย นกกระสาจึงกลับไปด้วยความหิวเพราะแทบจะไม่ได้กินอะไรเลยสักนิด ' เจ้าสุนัขจิ้งจอก มันต้องตั้งใจแกล้งเราอย่างแน่นอนเลยงานนี้ ฝากไว้ก่อนเถอะ คงมีสักวันที่ฉันจะต้องทำให้เธอได้เจ็บใจ บ้าง ฮึ'






         ต่อมาจากนั้นไม่นาน นกกระสาก็ได้เขียนจดหมายชวญเชิญสุนัขจิ้งจอกให้มากินอาหารที่บ้านของตนบ้าง ' ท่านสุนัขจิ้งจอก เราอยากจะขอเชิญท่านมารับประทานอาหารที่บ้านของเราบ้าง เพื่อเป็นการ ตอบแทนในน้ำใจของท่าน ' เจ้าสุนัขจิ้งจอกด้วยมันกำลังหิวอยู่ตอนนั้น เลยลืมเรื่องที่มันเคยได้แกล้ง นกกระสาเอาไว้นั้นเสียสนิท เมื่อมันได้รับจดหมายชวญกินอาหารอย่างนั้นก็ให้เป็นดีใจ จึงรีบเดินทาง ไปที่บ้านของนกกระสาทันทีนั้นเลย







        เมื่อมาถึง...นกกระสาได้เชิญให้สุนัขจิ้งจอกเข้ามาข้างในแล้ว มันก็ได้ยกอาหารที่ได้จัดเตรียมใส่ไว้ใน เหยือกคอสูงสองใบ ออกมาวาง คราวนี้จึงถึงคราวที่เจ้าสุนัขจิ้งจอก ไม่สามารถจะกินอาหารที่อยู่ ในเหยือกนั้นได้ มันจึงต้องเป็นฝ่ายต้องนั่งเฝ้าดู ขณะที่นกกระสากินอาหารในเหยือกทั้งสองใบนั้น อย่างเอร็ดอร่อย

        นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
        ๐ ถ้าใช้เล่ห์กลกับบุคคลอื่นได้ คนอื่นก็อาจจะใช้เล่ห์กลอย่างเดียวกันได้เช่นกัน

เพลง ร่างกายของฉัน

เพลง เด็ก 7 วัน 7 สี

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นับเลข

สื่อการเรียนการสอน

Razr iBoard - ระบบคอมพิวเตอร์ - CWS Project-UP

คณิตศาสตร์

สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

   

                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำ อย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน 

           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

     ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดย รู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป


เด็กอายุ 0 - 1 ป
               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ลูกด้วย
               

เด็กอายุ 2 - 3 ปี 

              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควร เป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
                                                เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก


    หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย

             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า
 
              วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก

     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับ วัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง


ที่มา  : http://www.sk-hospital.com/~ob/parent_school/nitan.htm

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีกับการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย

เทคโนโลยีกับการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย 






     ในปัจจุบันเด็กปฐมวัย ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในโลกของเทคโนโลยีและได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ใน สถานศึกษาอย่างแพร่หลาย ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการจัดการข้อมูลและใช้ในการศึกษา และที่กล่าวถึงโดยทั่วไป เทคโนโลยีที่นำมาใช้มากกับเด็กปฐมวัยปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์


เทคโนโลยีกับการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
     
     โลกปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร  คนในโลกปัจจุบันต้องรับข้อมูลข่าวสารที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา  ข้อมูลที่รับเข้ามานั้น มีทั้งข้อมูลที่มีประโยชน์และข้อมูลที่ไร้ค่า  บุคคลจึงต้องมีความสามารถไม่เพียงแต่การรับข้อมูลหรือสื่อสารเท่านั้น  แต่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสรร คัดกรอง และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง  และสามารถเลือกนำข้อมูลสาระมาสู่การสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเอง การให้การศึกษาเพื่อสร้างความสามารถดังกล่าวให้แก่เด็ก  จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คนได้รับการพัฒนาและพร้อมรับกับการเปลี่ยน แปลงของโลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

         เด็กปฐมวัยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางการศึกษา 
   
   

  เทคโนโลยีการศึกษาใน  ความหมายทั่วไป หมายถึง  เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์  เครื่องเล่นและเครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพดิจิตอล ฯลฯ และช่วยในการเรียนรู้แบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและส่งสารต่างๆ และมีผลต่อการศึกษา โดยเป้าหมายของการศึกษาได้เพิ่มมิติด้านเทคโนโลยีเข้าไปด้วย  เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและปรับตัวเข้ากับ สังคมแห่งเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม  ดังนั้น หน้าที่ของสังคม  ครอบครัว และครู คือการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่กลายเป็นผู้มีช่องว่างของเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์
ในปัจจุบันเด็กปฐมวัย  ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในโลกของเทคโนโลยีและได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ใน สถานศึกษาอย่างแพร่หลาย  ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการจัดการข้อมูลและใช้ในการศึกษา  และที่กล่าวถึงโดยทั่วไป  เทคโนโลยีที่นำมาใช้มากกับเด็กปฐมวัยปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์

     ในวงวิชาการ การศึกษาปฐมวัยได้มีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็ก ปฐมวัยไว้ทั้งด้านบวกและด้านต่างออกไป  ดังความเห็นของสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้แสดงความคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยไว้ว่า  แม้จะมีผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกของการใช้เทคโนโลยี  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาการของเด็ก  แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่า  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดกิจกรรมนั้น  ยังไม่แสดงถึงคุณค่าที่มีต่อการพัฒนาเด็กเทียบเท่ากับกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมศิลปะ การเล่นบล็อก เล่นน้ำ เล่นทราย  หนังสือ กิจกรรมสมมติ ฯลฯ  ที่จัดอยู่ตามปกติในชั้นเรียนของเด็ก  และมีข้อคิดเห็นว่า  ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนา เด็ก  แต่ก็มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมและอาจให้ผลตรงข้ามกับที่คาด หวังไว้  สิ่งสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นกิจกรรมหรือเครื่องมือสำหรับเด็ก คือ 
ซอฟแวร์ ที่ต้องมีการเลือกสรรอย่างดี  คัดเลือกที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์  ดังนั้น จึงเสนอแนะว่า  
นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานกับเด็ก  จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมากในการคัดเลือก ซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการใช้วิธีการที่เหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์ไปสู่การเรียนรู้ของเด็ก  และจัดเวลาของการเล่นให้มีความสมดุล มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องเล่นชนิดอื่นๆในห้องเรียน

ข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัย

     เนื่องจากยังไม่มีข้อ สรุปเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาสู่การใช้ในแง่ของการเป็นเครื่องมือการเรียนรู้  ที่ผ่านกระบวนการการเล่นเหมือนเครื่องเล่นชนิดอื่นๆ  จึงมีข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ดังนี้

     1.  การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัยนั้นต้องพิจารณาในหลักของความสอดคล้องกับ หลักการสนับสนุนพัฒนาการของเด็ก  และสอดคล้องกับหลักสูตร  ตลอดจนการประเมินผลพัฒนาการตามวัตถุประสงค์การศึกษา  ครูต้องใช้ดุลยพินิจในการนำมาใช้ให้เหมาะสม  คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  และบริบททางสังคมของเด็กด้วย
     2.  การพิจารณาด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยีนั้น จะต้องช่วยพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป
     3.  การนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องนำมาใช้โดยการบูรณาการกับเครื่องมืออื่นๆ ในลักษณะของการเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้  และใช้เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก
     4.  เทคโนโลยีมีความซับซ้อน  และมีศักยภาพสูง เช่น คอมพิวเตอร์  ครูจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ที่ชัดเจน  คือให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้  แต่มิใช่นำมาใช้ในลักษณะของการเป็นบทเรียน หรือ สาระความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนอย่างเคร่งเครียด หรือเรียนเป็นระบบ
     5.  นักการศึกษาปฐมวัยต้องเข้าใจว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น  เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็ก  โดยเฉพาะการส่งเสริมช่วงความสนใจ การแก้ปัญหา และการยอมรับเครื่องมือเครื่องใช้ในโลกปัจจุบัน  ดังนั้น จึงควรให้โอกาสเด็กทุกคนได้เข้าถึงเทคโนโลยี และรวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในประเด็นนี้ด้วย

     จะเห็นได้ว่า  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในเด็กปฐมวัยนั้น  มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากโลกปัจจุบันและอนาคต  เป็นโลกแห่งเทคโนโลยี  และนับวันจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น  การนำเทคโนโลยีมาสู่เด็ก จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคย และรับรู้ว่า เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นๆ ที่เขาสามารถทำความรู้จัก เข้าใจ และใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้  ข้อสำคัญ ครูและผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวและไม่นำเทคโนโลยีโดย เฉพาะคอมพิวเตอร์มากำหนดเป็นบทเรียนสำหรับเด็ก รวมทั้งการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสมกับเด็กทั้งด้านการเลือก
ซอฟแวร์ การกำหนดช่วงเวลาและลักษณะของการใช้  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก

คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัย

     คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ การให้เด็กเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีครูและผู้ปกครอง อยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะที่เหมาะสม ซอร์ฟแวร์ที่นำมาใช้จะต้องเป็นเรื่องของการศึกษา จึงจะพัฒนาเด็ก ได้จริงตามจุดประสงค์ของการเรียน สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เน้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูล ข่าวสารเป็นเหตุให้โรงเรียนต่างๆเริ่มให้มีการใช้คอมพิวเตอร์และมีโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก


     คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทาง เทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่ใช้กับเด็กได้ทุกวัยมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ กับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆทั้งเพื่อเป็นการฝึกทักษะให้กับเด็ก เช่น การสร้างสัมพันธภาพการเรียนรู้ ทางพุทธิปัญญา การคิดเลข และใช้เพื่อการฝึกความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยในการ ใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กันเมื่อเด็กใช้แล้วเด็กยังได้พัฒนาทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ด้วย 
จุดประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็กปฐมวัยมุ่งฝึกเด็กให้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ความคิดและทักษะต่างๆมากกว่าการหัดให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่


การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน

     ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นเวลานานพอ สมควร ในยุคแรกของการใช้ คอมพิวเตอร์กับเด็กนั้นยังไม่เป็นที่นิยมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ยังเป็นการ แสดงออกเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือ บางโปรแกรมอาจมีภาพกราฟฟิค ประกอบบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่น่าสนใจแม้ในต่างประเทศ ก็ไม่นิยมต่อมา เมื่อฮารดแวร์และซอฟแวร์พัฒนามากขึ้น จึงเป็นที่นิยมโดยแพร่หลาย คอมพิวเตอร์ สำหรับเด็กปฐมวัยจะมีซอฟแวร์ที่เรียกว่า Edutainment มาจากคำว่า Education (การศึกษา) บวกกับคำว่า Entertainment (ความบันเทิง) ซอฟแวร์แบบนี้เมื่อเวลาเด็กใช้เรียน เด็กจะได้ทั้งการ เรียนรู้กับความบันเทิง ทั้งนี้โดยจุดประสงค์หลักของการผลิตซอฟแวร์สำหรับเด็ก จะไม่เน้นเด็กให้เกิด การเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาอย่างเดียวแต่ต้องสนุกกับการเรียนนั้น ด้วยลักษณะของซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสม (Multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายๆแบบประกอบกันมีทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง ภาพที่เคลื่อนไหวได้ มีเสียง ในการใช้ซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสมนี้จะต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นสื่อผสมด้วย กล่าวคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีซีดีรอมไดรฟ์ (CD-Rom drive) และในเครื่องต้องมีที่เล่นเสียง เล่นภาพด้วยนอกจากนี้ต้องมีซอฟแวร์โดยทั่วไป Edutainment จะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี หรือ คอมแพคดิส(Compact disc) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผลิตขายโดยมี เรื่องหลากหลายที่เราสามารถเลือกได้ แต่ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายบริษัท ได้จัดทำเป็น อินเตอร์เน็ต (internet) ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ดิสค์อย่างที่เราใช้กันอยู่
     การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เดิมมาจากการพัฒนาในรูปข้อความ มาขยายสู่การมีภาพ มีเสียง เช่น โทรทัศน์ ความแตกต่างของโทรทัศน์กับสื่อผสมต่างกันตรงที่การเรียนจากโทรทัศน์เป็นการ เรียนแบบรับ (Passive) ขณะที่เรียนจากสื่อผสมคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนแบบ
ตอบโต้ (active) ที่เด็กสามารถมี ปฏิกิริยาตอบโต้ได้ในขณะเรียน ซึ่งการเรียนกับโทร ทัศน์เด็กจะเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวไม่สามารถสร้าง ปฏิสัมพันธ์ได้ดังนั้นการเรียนรู้แบบมีีปฏิสัมพันธ์(interactive learning) มีความสำคัญมากเด็กจะเรียนรู้ ได้สนุกกว่าโทรทัศน์ และเด็กสามารถควบคุมการเรียนรู้ในขณะที่เรียนได้ด้วย ซึ่งเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น อีกประการหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนคือ บทเรียนที่กำหนด มีความยากง่ายเหมาะกับเด็กที่จะเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เด็กยากเรียน และกระตือรือร้นที่จะเรียน เพราะเด็กสามารถเรียนรู้เพิ่มขึ้น และเด็กสามารถเลือกเรียนด้วยตนเองตามความสนใจ ด้วยลักษณะนี้ ทำให้การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งท้าทายสำหรับเด็ก องค์ประกอบที่สอดแทรกมาในคอมพิวเตอร์ คือการสร้างจินตนาการในเด็ก ด้วยภาพจากคอมพิวเตอร์มีการ
เคลื่อนไหว เด็กจะรับรู้และตอบสนอง ได้ดีกว่าภาพนิ่ง อย่างไรก็ตามซอฟแวร์ทางการศึกษาที่ดีต้องสนุกสนานในขณะเดียวกันต้องเด็ก ปฐมวัย ต้องการความสนุกสนานในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างเสริมปัญญาให้กับเด็กด้วย มีหลายบริษัทที่จัดทำซอฟแวร์ทางการศึกษา สำหรับเด็กที่สามารถศึกษาได้ในลักษณะดังกล่าว

     Electronic story book  เป็นหนังสือนิทานอย่างหนึ่ง ที่มีทั้ง
เรื่องเล่า และมีภาพเคลื่อนไหว เรียกได้ว่าเป็นหนังสือที่มีชีวิตชีวา สำหรับระเทศไทยการผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีทั้งที่เป็นนิทาน โปรแกรมการสอนคณิตศาสตร์ การสอนทักษะทางภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ การรู้จัก รูปร่างสี การวาดรูป เป็นต้น


หลักการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน

     


      ในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์เด็กจะรู้สึกมีส่วนร่วม สนุกสนาน ตื่นเต้น เพราะเห็นผลได้ทันทีอยากติดตาม เด็กจะมีความร้สึกที่ดีในการเรียน ซึ่งกรณีนี้เป็นการพัฒนาไปสู่ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง สิ่งที่ผู้ปกครอง และ ครูวิตกกังวลเกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับเด็กคือ เด็กจะสนใจการเล่นคอมพิวเตอร์จนลืมที่ จะทำอย่างอื่น สาเหตุเนื่องมาจากมีคนเอาเกมมาเล่นทำให้เด็กเล่นเกมจนติด เพราะเกมที่นำมานั้น ไม่ใช่เกมการศึกษา จึงอยู่ที่ว่าผู้ปกครองหรือครูต้องเลือกสิ่งที่เป็นการศึกษาจริงๆแล้วจัดให้ กับเด็ก   เด็กไม่เห็นความสำคัญของผู้ปกครอง และครู เพราะเด็กสามารถพึ่งคอมพิวเตอร็ได้เรียนจาก คอมพิวเตอร์ได้เด็กแยกตัวไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มุ่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเช่นนี้เด็กจะเป็นคน เก็บตัวไม่เข้ากับสังคม 
บางคนก็จะไม่สนใจผู้อื่นปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ได้ด้วยการจัดสภาพแวดล้อม ในการจัดวางคอมพิวเตอร์ ต้องให้ดี นับแต่ โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องจัดวางให้เหมาะกับ สภาพร่างกายของเด็กไม่ว่าจะเป็นการจัดที่บ้าน หรือที่โรงเรียนอีกประการหนึ่งการใช้คอมพิวเตอร์  เพื่อการศึกษาสำหรับเด็ก ควรใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning)เพื่อลด ปัญหาการ แยกตัวของเด็ก 
ครูควรจัดให้เด็กมีกิจกรรมแบบร่วมมือในขณะเรียนด้วยจะช่วยแก้ปัญหาการแยกตัว จากสังคมเป็นอย่างดี อีกทั้งควรมีการสอนจรรยามารยาทการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันไป ทั้งนี้ให้รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะต้องมีจรรยามารยาทด้วย
     สภาพแวดล้อมการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เฉพาะการนั่ง เรียนกับคอมพิวเตอร์แต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีกิจกรรมเสริมนอกจอด้วยกิจกรรมต่างๆที่ครูควรจัดขึ้นก็ควรจัด เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จะฝึกได้ เฉพาะบางเรื่องเท่านั้น ข้อสำคัญ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเสริมกิจกรรมและหลักสูตร ไม่ใช่สิ่งทดแทน การเรียนการสอนทั้งหมดของครูตัวอย่างเช่นการดูโทรทัศน์เราก็มีปัญหาว่าเด็ก ได้อะไรจากโทรทัศน์  ซึ่งถ้าให้ดีต้องมีผู้ใหญ่ดูแลด้วย และแนะนำขณะดูเช่นกัน กับ คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใหญ่ต้องอยู่ดูและสนทนา ร่วมกับเด็ก นับตั้งแต่เลือกซอร์ฟแวร์ที่ดีให้กับเด็กตรงกับจุดประสงค์ของการเรียนที่แท้ จริงครู ผู้ปกครองยังต้องเป็นผู้แนะแนวอยู่เสมอ
    นอกจากนี้เด็กควรได้รับประสบการณ์อื่นๆด้วย คอมพิวเตอร์ได้เฉพาะ 2 มิติ แต่ในชีวิตจริงเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ 3 มิติ เด็กยังต้องเล่นบล็อค เล่นตัวต่อ ซึ่ง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กมีคำพูดที่น่าสนใจ คือ Software can help prents see how their kids mind operate ,it like a window to their mind ซึ่งหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์คือ หน้าต่างของดวงจิตที่เราสามารถดูใจของเด็กได้จากคอมพิวเตอร์ ถ้าเราศึกษาขณะใช้คอมพิวเตอร์โดยสังเกตพัฒนาการของเด็กเราจะรู้ว่าเด็กคิด อย่างไร วางแผนอย่างไร ซึ่งน่าจะมีการวิจัยว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการคิดอย่างไรกับการใช้คอมพิวเตอร์ สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากอย่างน้อยจะได้คำตอบว่าคอมพิวเตอร์มีผลอย่างไรกับเด็กในแง่ของการคิด เพื่อการจัดการ

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก

     1. ทำให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบด้วยความสนุก เช่น การเรียน
คำศัพท์
     2. ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทดลองฝึกผสมสี 
โดยไม่เปลืองดินสอสี จากโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 
แต่มีข้อเสีย คือการใช้ทักษะของมือ
     3. การใช้ภาพ รูปร่าง เด็กสามารถเรียนรู้ถ่ายโยงมาสู่เรื่องใหม่ๆได้ ทำให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง ทำให้ ฝึกคิคค้นการแก้ปัญหาได้ดี
อย่างไรก็ตามในการฝึกทักษะนี้ครูสามารถเลือกเกม ต่างๆที่สามารถฝึกทักษะเด็กที่ต้องการได้


การใช้อินเตอร์เน็ต

     ในกรณีที่เราเป็นสมาชิกเครือข่าย เราสามารถเชื่อมโยงนำข้อมูล ณ ต่างประเทศที่เป็นเครือข่ายมาใช้ใน การเรียนการสอนได้ ทั้งที่เป้นรูปภาพ กิจกรรมต่างๆ ซึ่งเรามักจะได้มาจากต่างประเทศ เนื่องจาก ประเทศไทยยังมีน้อยมาก สิ่งที่สะดวกในการนำมาสอนคือครูสามารถคั่น หรือทำเครื่องหมาย ในการที่จะเลือกเรื่องมาใช้ในการเรียนการสอนได้ สิ่งที่ต้องระวังคือการเลือกใช้เนื้อหาเนื่องจาก เป็นแหล่งข้อมูลที่กว้างมาก ครูจึงควรเลือกเรื่องที่สนใจสำหรับเด็กเท่านั้น
ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจะมีทั้งข้อมูลทั่วไปและข้อมูล ช่วยสอนที่สามารถเลือกนำมาเรียน มาใช้ได้เช่นกัน   ลักษณะจะเหมือนกับบทเรียนแบบโปรแกรมที่ผู้เรียน หรือผู้ใช้สามารถเล่นถามตอบได้นอกจากนี้ ในการใช้อินเตอร์เนตบางอย่างครูสามารถเลือกภาพและพิมพ์ออกมาให้เด็กเป็นแบบ ฝึกหัดได้เช่น    รูปภาพให้เด็กหดระบายสี วาดภาพ Creative clsssroom on line เป็นโปรแกรมการเรียนที่สามารถ เลือกกิจกรรมตามชั้นเรียน และระดับที่สนใจได้แล้วนำข้อมูล เอกสารจากอินเตอร์เน็ตนั้นมาเป็นสื่อ ในการเรียน การสอน นอกจากนี้อินเตอร์เน็ต ยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถพูดคุยกับโรงเรียนอื่น โดยใช้เครือข่ายที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อความรู้ด้วย,การสนทนาระหว่าง โรงเรียน และระหว่างครู หรือระหว่างนักเรียนด้วยกันStory book เป็นอีกมิติหนึ่งที่ใช้ได้ทางอินเตอร์เน็ตลักษณะเป็นเรื่องเล่า นิทานที่จะเรียนได้เช่นกัน แต่การตอบสนองอาจจะช้า ทั้งนี้เพราะเป็นการตอบโต้ที่มีกำหนดตามลำดับ และเรายังสามารถจัดเป็นภาพการ์ตูนที่ส่งผ่านเครือข่ายมาจากต่างประเทศได้ ด้วย ปัญหาการใช้ เครือข่ายอยู่ที่โครงสร้างการสื่อสาร และความคล่องตัวของการสื่อสารนั้นสำหรับประเทศไทย ขณะนี้ได้มีการพัฒนาหน้าเฉพาะของตัวเอง(home page) แล้วโดยเฉพาะโรงเรียนนานาชาติ  มีการพัฒนามากพอสมควรข้อมูลที่มีจะเกี่ยวกับโรงเรียนระดับมัธยม เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบ นนทบุรี จะมีหน้าเฉพาะของตัวเอง(home page)โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ในขณะนี้เรายังไม่มีการแลก เปลี่ยนข้อมูลกันในแง่ของกิจกรรมการเรียนการสอน

สรุป

     การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็น อุปกรณ์การเรียนรู้ไม่ใช่การเป็นการเรียนการใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่ เช่น การสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงว่าเก่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นการปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังกับคอมพิวเตอร์จะเป็นเหตุให้เด็กขาดสติ ปัญญา 
เด็กควรได้เรียนมากกว่า การให้เล่นเกม ควรฝึกวินัยเด็กให้รู้ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ โรคติดคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เกิดจากเด็กติดอินเตอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งนับ เป็นโรคอย่างหนึ่งที่เป็นการเสพติดจริงๆควรใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเพื่อการเสริมการเรียนรู้ไนเรื่องที่สนใจเท่านั้น ครูและผู้ปกครองต้องเข้าใจและปลูกฝัง ให้กับเด็กให้ถูกทาง ต้องจำกัดเวลาที่เหมาะกับเด็กในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์อย่าลืมว่าเด็กต้อง พัฒนา ในทุกด้าน การใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีครูหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะ และได้สนทนาร่วมกันเสมอ



 -----------------------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง
    
วรนาท รักสกุลไทย (2537) ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา.  หน่วยที่ 9.  นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Morrison,G.S.(2004) Eary Childhood Education today. 9th ed.New Jersey : Pearson Merrill   Prentic Hall.

ที่มา :   อาจารย์ ดร.ขนิษฐารุจิโรจน์ ภาคเทคโนโลยีการศึกษา 
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แผยแพร่ใน วารสารการศึกษาปฐมวัย ปี 1 ฉบับที่ 4 ตุลาคม 2540
จากการบรรยายในการประชุมวิชาการการศึกษาปฐมวัยครั้งที่1 
เรื่อง ทศวรรษหน้าของการศึกษาปฐมวัย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2540 ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ