เทคโนโลยีกับการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
ในปัจจุบันเด็กปฐมวัย ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในโลกของเทคโนโลยีและได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ใน สถานศึกษาอย่างแพร่หลาย ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการจัดการข้อมูลและใช้ในการศึกษา และที่กล่าวถึงโดยทั่วไป เทคโนโลยีที่นำมาใช้มากกับเด็กปฐมวัยปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีกับการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
โลกปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร คนในโลกปัจจุบันต้องรับข้อมูลข่าวสารที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่รับเข้ามานั้น มีทั้งข้อมูลที่มีประโยชน์และข้อมูลที่ไร้ค่า บุคคลจึงต้องมีความสามารถไม่เพียงแต่การรับข้อมูลหรือสื่อสารเท่านั้น แต่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสรร คัดกรอง และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และสามารถเลือกนำข้อมูลสาระมาสู่การสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเอง การให้การศึกษาเพื่อสร้างความสามารถดังกล่าวให้แก่เด็ก จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คนได้รับการพัฒนาและพร้อมรับกับการเปลี่ยน แปลงของโลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
เด็กปฐมวัยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาใน ความหมายทั่วไป หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นและเครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพดิจิตอล ฯลฯ และช่วยในการเรียนรู้แบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและส่งสารต่างๆ และมีผลต่อการศึกษา โดยเป้าหมายของการศึกษาได้เพิ่มมิติด้านเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและปรับตัวเข้ากับ สังคมแห่งเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น หน้าที่ของสังคม ครอบครัว และครู คือการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่กลายเป็นผู้มีช่องว่างของเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์
ในปัจจุบันเด็กปฐมวัย ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในโลกของเทคโนโลยีและได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ใน สถานศึกษาอย่างแพร่หลาย ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการจัดการข้อมูลและใช้ในการศึกษา และที่กล่าวถึงโดยทั่วไป เทคโนโลยีที่นำมาใช้มากกับเด็กปฐมวัยปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์
ในวงวิชาการ การศึกษาปฐมวัยได้มีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็ก ปฐมวัยไว้ทั้งด้านบวกและด้านต่างออกไป ดังความเห็นของสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยไว้ว่า แม้จะมีผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกของการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาการของเด็ก แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่า การนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดกิจกรรมนั้น ยังไม่แสดงถึงคุณค่าที่มีต่อการพัฒนาเด็กเทียบเท่ากับกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมศิลปะ การเล่นบล็อก เล่นน้ำ เล่นทราย หนังสือ กิจกรรมสมมติ ฯลฯ ที่จัดอยู่ตามปกติในชั้นเรียนของเด็ก และมีข้อคิดเห็นว่า ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนา เด็ก แต่ก็มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมและอาจให้ผลตรงข้ามกับที่คาด หวังไว้ สิ่งสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นกิจกรรมหรือเครื่องมือสำหรับเด็ก คือ
ซอฟแวร์ ที่ต้องมีการเลือกสรรอย่างดี คัดเลือกที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น จึงเสนอแนะว่า
นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานกับเด็ก จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมากในการคัดเลือก ซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการใช้วิธีการที่เหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์ไปสู่การเรียนรู้ของเด็ก และจัดเวลาของการเล่นให้มีความสมดุล มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องเล่นชนิดอื่นๆในห้องเรียน
ข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัย
เนื่องจากยังไม่มีข้อ สรุปเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาสู่การใช้ในแง่ของการเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ที่ผ่านกระบวนการการเล่นเหมือนเครื่องเล่นชนิดอื่นๆ จึงมีข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ดังนี้
1. การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัยนั้นต้องพิจารณาในหลักของความสอดคล้องกับ หลักการสนับสนุนพัฒนาการของเด็ก และสอดคล้องกับหลักสูตร ตลอดจนการประเมินผลพัฒนาการตามวัตถุประสงค์การศึกษา ครูต้องใช้ดุลยพินิจในการนำมาใช้ให้เหมาะสม คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบททางสังคมของเด็กด้วย
2. การพิจารณาด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยีนั้น จะต้องช่วยพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป
3. การนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องนำมาใช้โดยการบูรณาการกับเครื่องมืออื่นๆ ในลักษณะของการเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และใช้เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก
4. เทคโนโลยีมีความซับซ้อน และมีศักยภาพสูง เช่น คอมพิวเตอร์ ครูจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ที่ชัดเจน คือให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้ แต่มิใช่นำมาใช้ในลักษณะของการเป็นบทเรียน หรือ สาระความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนอย่างเคร่งเครียด หรือเรียนเป็นระบบ
5. นักการศึกษาปฐมวัยต้องเข้าใจว่า เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะการส่งเสริมช่วงความสนใจ การแก้ปัญหา และการยอมรับเครื่องมือเครื่องใช้ในโลกปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรให้โอกาสเด็กทุกคนได้เข้าถึงเทคโนโลยี และรวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในประเด็นนี้ด้วย
จะเห็นได้ว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในเด็กปฐมวัยนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากโลกปัจจุบันและอนาคต เป็นโลกแห่งเทคโนโลยี และนับวันจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น การนำเทคโนโลยีมาสู่เด็ก จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคย และรับรู้ว่า เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นๆ ที่เขาสามารถทำความรู้จัก เข้าใจ และใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ ข้อสำคัญ ครูและผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวและไม่นำเทคโนโลยีโดย เฉพาะคอมพิวเตอร์มากำหนดเป็นบทเรียนสำหรับเด็ก รวมทั้งการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสมกับเด็กทั้งด้านการเลือก
ซอฟแวร์ การกำหนดช่วงเวลาและลักษณะของการใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก
คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัย
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ การให้เด็กเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีครูและผู้ปกครอง อยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะที่เหมาะสม ซอร์ฟแวร์ที่นำมาใช้จะต้องเป็นเรื่องของการศึกษา จึงจะพัฒนาเด็ก ได้จริงตามจุดประสงค์ของการเรียน สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เน้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูล ข่าวสารเป็นเหตุให้โรงเรียนต่างๆเริ่มให้มีการใช้คอมพิวเตอร์และมีโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทาง เทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่ใช้กับเด็กได้ทุกวัยมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ กับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆทั้งเพื่อเป็นการฝึกทักษะให้กับเด็ก เช่น การสร้างสัมพันธภาพการเรียนรู้ ทางพุทธิปัญญา การคิดเลข และใช้เพื่อการฝึกความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยในการ ใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กันเมื่อเด็กใช้แล้วเด็กยังได้พัฒนาทักษะการใช้ คอมพิวเตอร์ด้วย
จุดประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็กปฐมวัยมุ่งฝึกเด็กให้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ความคิดและทักษะต่างๆมากกว่าการหัดให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่
การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน
ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นเวลานานพอ สมควร ในยุคแรกของการใช้ คอมพิวเตอร์กับเด็กนั้นยังไม่เป็นที่นิยมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ยังเป็นการ แสดงออกเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือ บางโปรแกรมอาจมีภาพกราฟฟิค ประกอบบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่น่าสนใจแม้ในต่างประเทศ ก็ไม่นิยมต่อมา เมื่อฮารดแวร์และซอฟแวร์พัฒนามากขึ้น จึงเป็นที่นิยมโดยแพร่หลาย คอมพิวเตอร์ สำหรับเด็กปฐมวัยจะมีซอฟแวร์ที่เรียกว่า Edutainment มาจากคำว่า Education (การศึกษา) บวกกับคำว่า Entertainment (ความบันเทิง) ซอฟแวร์แบบนี้เมื่อเวลาเด็กใช้เรียน เด็กจะได้ทั้งการ เรียนรู้กับความบันเทิง ทั้งนี้โดยจุดประสงค์หลักของการผลิตซอฟแวร์สำหรับเด็ก จะไม่เน้นเด็กให้เกิด การเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาอย่างเดียวแต่ต้องสนุกกับการเรียนนั้น ด้วยลักษณะของซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสม (Multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายๆแบบประกอบกันมีทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง ภาพที่เคลื่อนไหวได้ มีเสียง ในการใช้ซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสมนี้จะต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นสื่อผสมด้วย กล่าวคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีซีดีรอมไดรฟ์ (CD-Rom drive) และในเครื่องต้องมีที่เล่นเสียง เล่นภาพด้วยนอกจากนี้ต้องมีซอฟแวร์โดยทั่วไป Edutainment จะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี หรือ คอมแพคดิส(Compact disc) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผลิตขายโดยมี เรื่องหลากหลายที่เราสามารถเลือกได้ แต่ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายบริษัท ได้จัดทำเป็น อินเตอร์เน็ต (internet) ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ดิสค์อย่างที่เราใช้กันอยู่
การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เดิมมาจากการพัฒนาในรูปข้อความ มาขยายสู่การมีภาพ มีเสียง เช่น โทรทัศน์ ความแตกต่างของโทรทัศน์กับสื่อผสมต่างกันตรงที่การเรียนจากโทรทัศน์เป็นการ เรียนแบบรับ (Passive) ขณะที่เรียนจากสื่อผสมคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนแบบ
ตอบโต้ (active) ที่เด็กสามารถมี ปฏิกิริยาตอบโต้ได้ในขณะเรียน ซึ่งการเรียนกับโทร ทัศน์เด็กจะเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวไม่สามารถสร้าง ปฏิสัมพันธ์ได้ดังนั้นการเรียนรู้แบบมีีปฏิสัมพันธ์(interactive learning) มีความสำคัญมากเด็กจะเรียนรู้ ได้สนุกกว่าโทรทัศน์ และเด็กสามารถควบคุมการเรียนรู้ในขณะที่เรียนได้ด้วย ซึ่งเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น อีกประการหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนคือ บทเรียนที่กำหนด มีความยากง่ายเหมาะกับเด็กที่จะเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เด็กยากเรียน และกระตือรือร้นที่จะเรียน เพราะเด็กสามารถเรียนรู้เพิ่มขึ้น และเด็กสามารถเลือกเรียนด้วยตนเองตามความสนใจ ด้วยลักษณะนี้ ทำให้การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งท้าทายสำหรับเด็ก องค์ประกอบที่สอดแทรกมาในคอมพิวเตอร์ คือการสร้างจินตนาการในเด็ก ด้วยภาพจากคอมพิวเตอร์มีการ
เคลื่อนไหว เด็กจะรับรู้และตอบสนอง ได้ดีกว่าภาพนิ่ง อย่างไรก็ตามซอฟแวร์ทางการศึกษาที่ดีต้องสนุกสนานในขณะเดียวกันต้องเด็ก ปฐมวัย ต้องการความสนุกสนานในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างเสริมปัญญาให้กับเด็กด้วย มีหลายบริษัทที่จัดทำซอฟแวร์ทางการศึกษา สำหรับเด็กที่สามารถศึกษาได้ในลักษณะดังกล่าว
Electronic story book เป็นหนังสือนิทานอย่างหนึ่ง ที่มีทั้ง
เรื่องเล่า และมีภาพเคลื่อนไหว เรียกได้ว่าเป็นหนังสือที่มีชีวิตชีวา สำหรับระเทศไทยการผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีทั้งที่เป็นนิทาน โปรแกรมการสอนคณิตศาสตร์ การสอนทักษะทางภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ การรู้จัก รูปร่างสี การวาดรูป เป็นต้น
หลักการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน
ในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์เด็กจะรู้สึกมีส่วนร่วม สนุกสนาน ตื่นเต้น เพราะเห็นผลได้ทันทีอยากติดตาม เด็กจะมีความร้สึกที่ดีในการเรียน ซึ่งกรณีนี้เป็นการพัฒนาไปสู่ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง สิ่งที่ผู้ปกครอง และ ครูวิตกกังวลเกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับเด็กคือ เด็กจะสนใจการเล่นคอมพิวเตอร์จนลืมที่ จะทำอย่างอื่น สาเหตุเนื่องมาจากมีคนเอาเกมมาเล่นทำให้เด็กเล่นเกมจนติด เพราะเกมที่นำมานั้น ไม่ใช่เกมการศึกษา จึงอยู่ที่ว่าผู้ปกครองหรือครูต้องเลือกสิ่งที่เป็นการศึกษาจริงๆแล้วจัดให้ กับเด็ก เด็กไม่เห็นความสำคัญของผู้ปกครอง และครู เพราะเด็กสามารถพึ่งคอมพิวเตอร็ได้เรียนจาก คอมพิวเตอร์ได้เด็กแยกตัวไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มุ่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเช่นนี้เด็กจะเป็นคน เก็บตัวไม่เข้ากับสังคม
บางคนก็จะไม่สนใจผู้อื่นปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ได้ด้วยการจัดสภาพแวดล้อม ในการจัดวางคอมพิวเตอร์ ต้องให้ดี นับแต่ โต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องจัดวางให้เหมาะกับ สภาพร่างกายของเด็กไม่ว่าจะเป็นการจัดที่บ้าน หรือที่โรงเรียนอีกประการหนึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาสำหรับเด็ก ควรใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning)เพื่อลด ปัญหาการ แยกตัวของเด็ก
ครูควรจัดให้เด็กมีกิจกรรมแบบร่วมมือในขณะเรียนด้วยจะช่วยแก้ปัญหาการแยกตัว จากสังคมเป็นอย่างดี อีกทั้งควรมีการสอนจรรยามารยาทการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันไป ทั้งนี้ให้รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะต้องมีจรรยามารยาทด้วย
สภาพแวดล้อมการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เฉพาะการนั่ง เรียนกับคอมพิวเตอร์แต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีกิจกรรมเสริมนอกจอด้วยกิจกรรมต่างๆที่ครูควรจัดขึ้นก็ควรจัด เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จะฝึกได้ เฉพาะบางเรื่องเท่านั้น ข้อสำคัญ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเสริมกิจกรรมและหลักสูตร ไม่ใช่สิ่งทดแทน การเรียนการสอนทั้งหมดของครูตัวอย่างเช่นการดูโทรทัศน์เราก็มีปัญหาว่าเด็ก ได้อะไรจากโทรทัศน์ ซึ่งถ้าให้ดีต้องมีผู้ใหญ่ดูแลด้วย และแนะนำขณะดูเช่นกัน กับ คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใหญ่ต้องอยู่ดูและสนทนา ร่วมกับเด็ก นับตั้งแต่เลือกซอร์ฟแวร์ที่ดีให้กับเด็กตรงกับจุดประสงค์ของการเรียนที่แท้ จริงครู ผู้ปกครองยังต้องเป็นผู้แนะแนวอยู่เสมอ
นอกจากนี้เด็กควรได้รับประสบการณ์อื่นๆด้วย คอมพิวเตอร์ได้เฉพาะ 2 มิติ แต่ในชีวิตจริงเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ 3 มิติ เด็กยังต้องเล่นบล็อค เล่นตัวต่อ ซึ่ง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กมีคำพูดที่น่าสนใจ คือ Software can help prents see how their kids mind operate ,it like a window to their mind ซึ่งหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์คือ หน้าต่างของดวงจิตที่เราสามารถดูใจของเด็กได้จากคอมพิวเตอร์ ถ้าเราศึกษาขณะใช้คอมพิวเตอร์โดยสังเกตพัฒนาการของเด็กเราจะรู้ว่าเด็กคิด อย่างไร วางแผนอย่างไร ซึ่งน่าจะมีการวิจัยว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการคิดอย่างไรกับการใช้คอมพิวเตอร์ สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากอย่างน้อยจะได้คำตอบว่าคอมพิวเตอร์มีผลอย่างไรกับเด็กในแง่ของการคิด เพื่อการจัดการ
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
1. ทำให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบด้วยความสนุก เช่น การเรียน
คำศัพท์
2. ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทดลองฝึกผสมสี
2. ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทดลองฝึกผสมสี
โดยไม่เปลืองดินสอสี จากโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
แต่มีข้อเสีย คือการใช้ทักษะของมือ
3. การใช้ภาพ รูปร่าง เด็กสามารถเรียนรู้ถ่ายโยงมาสู่เรื่องใหม่ๆได้ ทำให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง ทำให้ ฝึกคิคค้นการแก้ปัญหาได้ดี
3. การใช้ภาพ รูปร่าง เด็กสามารถเรียนรู้ถ่ายโยงมาสู่เรื่องใหม่ๆได้ ทำให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง ทำให้ ฝึกคิคค้นการแก้ปัญหาได้ดี
อย่างไรก็ตามในการฝึกทักษะนี้ครูสามารถเลือกเกม ต่างๆที่สามารถฝึกทักษะเด็กที่ต้องการได้
การใช้อินเตอร์เน็ต
ในกรณีที่เราเป็นสมาชิกเครือข่าย เราสามารถเชื่อมโยงนำข้อมูล ณ ต่างประเทศที่เป็นเครือข่ายมาใช้ใน การเรียนการสอนได้ ทั้งที่เป้นรูปภาพ กิจกรรมต่างๆ ซึ่งเรามักจะได้มาจากต่างประเทศ เนื่องจาก ประเทศไทยยังมีน้อยมาก สิ่งที่สะดวกในการนำมาสอนคือครูสามารถคั่น หรือทำเครื่องหมาย ในการที่จะเลือกเรื่องมาใช้ในการเรียนการสอนได้ สิ่งที่ต้องระวังคือการเลือกใช้เนื้อหาเนื่องจาก เป็นแหล่งข้อมูลที่กว้างมาก ครูจึงควรเลือกเรื่องที่สนใจสำหรับเด็กเท่านั้น
ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจะมีทั้งข้อมูลทั่วไปและข้อมูล ช่วยสอนที่สามารถเลือกนำมาเรียน มาใช้ได้เช่นกัน ลักษณะจะเหมือนกับบทเรียนแบบโปรแกรมที่ผู้เรียน หรือผู้ใช้สามารถเล่นถามตอบได้นอกจากนี้ ในการใช้อินเตอร์เนตบางอย่างครูสามารถเลือกภาพและพิมพ์ออกมาให้เด็กเป็นแบบ ฝึกหัดได้เช่น รูปภาพให้เด็กหดระบายสี วาดภาพ Creative clsssroom on line เป็นโปรแกรมการเรียนที่สามารถ เลือกกิจกรรมตามชั้นเรียน และระดับที่สนใจได้แล้วนำข้อมูล เอกสารจากอินเตอร์เน็ตนั้นมาเป็นสื่อ ในการเรียน การสอน นอกจากนี้อินเตอร์เน็ต ยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถพูดคุยกับโรงเรียนอื่น โดยใช้เครือข่ายที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อความรู้ด้วย,การสนทนาระหว่าง โรงเรียน และระหว่างครู หรือระหว่างนักเรียนด้วยกันStory book เป็นอีกมิติหนึ่งที่ใช้ได้ทางอินเตอร์เน็ตลักษณะเป็นเรื่องเล่า นิทานที่จะเรียนได้เช่นกัน แต่การตอบสนองอาจจะช้า ทั้งนี้เพราะเป็นการตอบโต้ที่มีกำหนดตามลำดับ และเรายังสามารถจัดเป็นภาพการ์ตูนที่ส่งผ่านเครือข่ายมาจากต่างประเทศได้ ด้วย ปัญหาการใช้ เครือข่ายอยู่ที่โครงสร้างการสื่อสาร และความคล่องตัวของการสื่อสารนั้นสำหรับประเทศไทย ขณะนี้ได้มีการพัฒนาหน้าเฉพาะของตัวเอง(home page) แล้วโดยเฉพาะโรงเรียนนานาชาติ มีการพัฒนามากพอสมควรข้อมูลที่มีจะเกี่ยวกับโรงเรียนระดับมัธยม เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบ นนทบุรี จะมีหน้าเฉพาะของตัวเอง(home page)โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ในขณะนี้เรายังไม่มีการแลก เปลี่ยนข้อมูลกันในแง่ของกิจกรรมการเรียนการสอน
สรุป
การใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็น อุปกรณ์การเรียนรู้ไม่ใช่การเป็นการเรียนการใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่ เช่น การสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงว่าเก่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นการปล่อยให้เด็กอยู่ลำพังกับคอมพิวเตอร์จะเป็นเหตุให้เด็กขาดสติ ปัญญา
เด็กควรได้เรียนมากกว่า การให้เล่นเกม ควรฝึกวินัยเด็กให้รู้ถึงการใช้คอมพิวเตอร์ โรคติดคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เกิดจากเด็กติดอินเตอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งนับ เป็นโรคอย่างหนึ่งที่เป็นการเสพติดจริงๆควรใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเพื่อการเสริมการเรียนรู้ไนเรื่องที่สนใจเท่านั้น ครูและผู้ปกครองต้องเข้าใจและปลูกฝัง ให้กับเด็กให้ถูกทาง ต้องจำกัดเวลาที่เหมาะกับเด็กในการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์อย่าลืมว่าเด็กต้อง พัฒนา ในทุกด้าน การใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีครูหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะ และได้สนทนาร่วมกันเสมอ
-----------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
วรนาท รักสกุลไทย (2537) ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา. หน่วยที่ 9. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Morrison,G.S.(2004) Eary Childhood Education today. 9th ed.New Jersey : Pearson Merrill Prentic Hall.
ที่มา : อาจารย์ ดร.ขนิษฐารุจิโรจน์ ภาคเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แผยแพร่ใน วารสารการศึกษาปฐมวัย ปี 1 ฉบับที่ 4 ตุลาคม 2540
จากการบรรยายในการประชุมวิชาการการศึกษาปฐมวัยครั้งที่1
จากการบรรยายในการประชุมวิชาการการศึกษาปฐมวัยครั้งที่1
เรื่อง ทศวรรษหน้าของการศึกษาปฐมวัย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2540 ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2540 ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ