วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

สอนลูกให้รู้จักแบ่งปัน


การที่เจ้าตัวเล็กวัยเตาะแตะหวงของเล่นนั้นไม่ได้หมายความว่าเค้าจะมีนิสัยเห็นแก่ตัวเสมอไปหรอกนะคะเพราะ
การหวงของเล่นนั้นเป็นพฤติกรรมปกติของเด็กวัยนี้ค่ะการแบ่งปันนั้นเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
นานหลายปีในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะพบว่าลูกหวงของหรือแย่งของเล่นกับเพื่อนและจะสังเกตได้ว่าเพื่อน
ของลูกที่อยู่ในวัยเดียวกันก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกัน
การสอนให้ลูกรู้จักแบ่งของเล่นกับเพื่อนนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างถูกวิธีนะคะ ของเล่นที่เป็นของลูกก็ต้องให้ลูก
รู้ว่าของเล่นชิ้นนั้นเป็นของเค้าและเค้ามีสิทธิ์ในของชิ้นนั้น ยกตัวอย่างสถานการณ์เช่น...
...ในขณะที่ลูกกำลังเล่นของเล่นชิ้นหนึ่งอยู่ ก็มีเพื่อนของลูกเข้ามาและอยากจะเล่นของเล่นชิ้นนั้นบ้าง....
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำก็คือสอนให้ลูกรู้ว่าของเล่นนั้นเป็นของลูกลูกอยากจะเล่นให้เสร็จก่อนแล้วค่อยแบ่งให้เพื่อน
เล่นก็ได้หรือว่าลูกอยากจะเล่นด้วยกันกับเพื่อนก็ได้และก็ควรบอกเพื่อนของลูกด้วยเหตุผลเดียวกันแต่สิ่งที่คุณพ่อ
คุณแม่ไม่ควรทำก็คือการบังคับให้ลูกเอาของชิ้นนั้นให้เพื่อนเล่นในทันทีเพราะจะทำให้ลูกรู้สึกสับสนในเรื่องความ
เป็นเจ้าของและมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในเรื่องการแบ่งปันรวมทั้งไม่ควรลงโทษลูกหากลูกไม่แบ่งของให้คนอื่นเพราะ
ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นๆและค่อยๆสอนลูกอย่างค่อยเป็นค่อยไปค่ะ
ในช่วงแรกๆลูกอาจแบ่งของเล่นให้เพื่อนเพราะได้รับคำชมจากคุณพ่อคุณแม่แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกน้อยจะเริ่มทำ
พฤติกรรมนี้ด้วยความเคยชินเค้าจะรู้สึกอยากแบ่งปันเพราะทำแล้วมีความรู้สึกที่ดีเกิดขึ้นรวมทั้งรู้สึกสนุกกับการมี
เพื่อนเล่นอีกด้วยค่ะ
เนื่องจากเด็กจะจดจำและเลียนแบบพฤติกรรมที่เค้าเห็นดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักการแบ่งปันทุกครั้ง
ที่มีโอกาสรวมทั้งควรสื่อสารกับลูกในขณะที่แสดงให้ลูกเห็นด้วยซึ่งมีวิธีง่ายๆดังนี้
          •  คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างให้ลูก เช่น ก่อนจะแบ่งขนมให้ลูกชิม ก็อาจพูดว่า “ขนมของคุณแม่อร่อยมากเลย
             ลองชิมขนมของคุณแม่มั๊ยคะลูก คุณแม่แบ่งให้นะคะ”
          •  สอนให้ลูกรู้จักความเป็นเจ้าของ และเสนอการแบ่งปันในสถานการณ์ที่เป็นไปได้ เช่น “รถตักดินอันนี้ของ
             น้องเอ น้องเอชวนน้องบีมาเล่นด้วยกันดีมั๊ยคะ”
          •  ชมลูกเมื่อลูกแบ่งของให้คนอื่น หรือชมเด็กคนอื่นให้ลูกเห็นเมื่อลูกได้รับการแบ่งปัน เช่น “น้องเอใจดีแบ่ง
             ตุ๊กตาให้เพื่อนเล่นด้วย น้องเอน่ารักมากค่ะ” หรือ “ดูสิคะ พี่จอยแบ่งของเล่นให้ลูกด้วย พี่จอยใจดีจังเลย”
อย่างไรก็ตามการรู้จักแบ่งปันหรือการสอนให้ลูกเป็นคนไม่เห็นแก่ตัวนั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจะต้องแบ่งของทุกอย่าง
ให้คนอื่นทุกครั้งไปในบางครั้งหากเขาไม่อยากจะแบ่งปันอะไรให้ใครก็ไม่เป็นไรค่ะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้เช่น ถ้าเขา
มีของเล่นชิ้นหนึ่งที่ไม่ต้องการให้เพื่อนเล่นด้วยเขาก็สามารถเก็บเอาไว้เล่นคนเดียวได้ไม่ผิดอะไรโดยเขาอาจจะ
เก็บของเล่นชิ้นนั้นเอาไว้ก่อนเวลาที่มีเพื่อนมาเล่นด้วยไม่เอาออกมาเพื่อนเห็นอย่างนี้เป็นต้น



ที่มา  :  http://www.nestlebaby.com/th/parenting/family_life/how_can_i_teach_my_toddler_to_share/

พัฒนาการทางสังคมและการละเล่น

พัฒนาการทางสังคมและการละเล่น
การเล่นเกมและการเล่นที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน
ตามธรรมชาติเด็กๆจะเริ่มฝึกหัดพัฒนาการด้านนี้ตั้งแต่
อยู่ในขั้นทารก แต่อย่างไรก็ดีสำหรับเด็กอายุ 3-4 ขวบ
ผู้ปกครองต้องระมัดระวังและคอยดูแลไม่ให้เด็กทะเลาะกัน
ถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทรกกลาง
การแพ้ชนะ
ในสังคมทุกวันนี้ต่างมุ่งเน้นที่จะแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกัน
และความคิดที่จะเอาชนะกันได้แพร่ขยายเข้ามาในการละเล่นของเด็กด้วย
บางคนกล่าวว่า เราอยู่ในโลกของการแข่งขัน ในไม่ช้าเด็กก็จะคุ้นเคย
กับมันเอง ในวัยเด็กเล็กๆ เป็นการง่ายที่จะยอมรับความพ่ายแพ้
แต่สำหรับเด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป เป็นการยากที่จะยอมรับว่าตัวเองล้มเหลว
สำหรับเด็กแล้วเกมและการละเล่น เป็นการสอนให้เขาเข้าใจในโลกแห่งความเป็นจริง
แต่ในขณะเดียวกันถ้าเขาถูกเพื่อนๆล้อเลียนบ่อยๆ ก็จะทำให้สูญเสียความมั่นใจได้
ทางที่ดีที่สุดที่เราสามารถจะช่วยเขาได้คือจับตามองเวลาที่เขาเล่น
และย้ำกับเขาว่า ในการเล่นเกมต้องมีคนแพ้ คนชนะ ไม่มีใครจะชนะได้ตลอดเวลา
เราไม่ควรสอนให้เด็กเป็นคนอยากเอาชนะ แต่ควรสอนให้เขาอยู่
ในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีความสุขจะดีกว่า 




ที่มา  : http://kidsquare.com/content/content_detail.php?id=1429&catid=371