วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นกับพัฒนาการเด็กไทย

ของเล่นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเล่น ๆ “ของ เล่น” นับเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างทักษะและพัฒนาร่างกาย สมองส่วนต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก ๆ
นอกจากการ เล่นของเล่นจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กอารมณ์ดีเบิกบานแล้ว การเล่นของเล่นยังช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ และฝึกทักษะในการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ ในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
การเล่นและของเล่นสำหรับเด็กใน ช่วงปฐมวัยมีความหมายและความสำคัญต่อชีวิตเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการเล่นกับผู้คนหรือของเล่น ถือเป็นรากฐานที่สะสมเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อ ๆ มา

เด็กที่ขาดโอกาสในการเล่นหรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเล่นย่อมมีโอกาสที่จะประสบปัญหาในการเรียนรู้และมีพัฒนาการล่าช้าได้

ศ.พญ.คุณ หญิงเพ็ญศรี พิชัยสนิธ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่า “การเล่นของเด็กเปรียบเหมือนการทำงานของผู้ใหญ่ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองจะมีส่วนสำคัญ การเล่นของเล่นที่เหมาะสมช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี พัฒนาการสมองแต่ละช่วงวัยสามารถเสริมได้ด้วยของเล่นเด็ก”

ของเล่นที่ เหมาะสมสำหรับเด็กตามวัย โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ มักเริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรืออยู่ใกล้ตัวเด็กก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นของที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ต่อมาจึงเป็นของเล่นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นมาลักษณะพัฒนาการหรือความสามารถ ของเด็กที่พัฒนาขึ้น

การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียน รู้ตามศักยภาพของเด็กนับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ขณะเดียวกันการเล่นเป็นเพื่อนกับเด็กในบางขณะก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไป กว่ากัน

นอกจากความอบอุ่นที่เด็ก ๆ จะได้รับแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองยังสามารถให้คำแนะนำวิธีเล่นที่ถูกต้อง และปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ ได้ อีกด้วย

แม้ว่าของเล่นจะมีความสำคัญกับเด็ก แต่ก็ยังมีพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นความสำคัญของการเล่นของเล่นของเด็ก ๆ

ศ.เกีย รติคุณชนิกา ตู้จินดา ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช กล่าวว่า “เราสามารถแบ่งกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองได้เป็นสองกลุ่ม ในกลุ่มพ่อแม่ที่เห็นความสำคัญของการเล่น ของเล่นที่ซื้อให้ลูกก็จะช่วยสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก แต่ในกลุ่มพ่อแม่ที่เห็นของเล่นเป็นเพียงเรื่องเล่น ๆ ของเล่นที่ซื้อให้ลูกก็จะเป็นของเล่นที่ไม่มีคุณภาพ”

จากการศึกษา วิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย : ปัจจัยคัดสรรด้านครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งทำการวิจัยโดย พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ และคณะ เมื่อปี พ.ศ. 2547 พบว่าของเล่นสำหรับเด็กอายุ 1-3 ขวบ ที่มีอยู่ในบ้าน ส่วนใหญ่เป็นของเล่นที่เน้นการพัฒนาทางด้านร่างกายมากกว่าของเล่นที่เน้นการ พัฒนาสมอง

ของเล่นที่พบว่ามีอยู่ในบ้านมากที่สุดได้แก่ ของเล่นที่ใช้ออกกำลังแขนขาซึ่งมีมากถึง 86.9% รองลงมาได้แก่ของเล่นฝึกนิ้วมือซึ่งมีมากถึง 71.2%

และจากการศึกษา วิจัยดังกล่าว พบว่าของเล่นสำหรับเด็กอายุ 3-6 ขวบที่มีอยู่ในบ้านมากที่สุดก็ยังคงเป็นของที่ฝึกการเคลื่อนไหวแขนขาซึ่งมี มากถึง 90% รองลงมาได้แก่ของที่ใช้ขีดเขียนซึ่งมีมากถึง 84.4%

ถึง เวลาแล้วหรือยังที่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลายจะหันมาให้ความสนใจกับการเล่นและ ของเล่นสำหรับเด็ก เพราะการเล่นและของเล่นมีความหมายและความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตเด็กเป็น อย่างมาก

การส่งเสริมให้เด็กได้เล่น และสนับสนุนของเล่นที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความถนัดของเด็ก จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ และช่วยสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กในด้านต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน.
แหล่งที่มา: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
http://www.worldpluss.com/faqboard.php?id=11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น